ลองเล่น Spatial.io ลุย Metaverse ที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับทุกคน

กระแส Buzzword  คำว่า Metaverse ที่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ดูเหมือนว่าจะยังไม่จางหาย แต่กลับมีลูกเล่นใหม่ๆ และเป็นที่นิยมพูดถึงในวงการสื่อสารการตลาดมากยิ่งขึ้น แบรนด์ต่างๆ เริ่มตื่นตัวและเริ่มมีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เช่นงานอีเวนต์ SCG Livingverse และกิจกรรมภายใต้ #AIS5GVERSE  แต่พอเห็นแบรนด์ใหญ่จับกระแส หลายคนเลยอาจจะคิดว่าการมีส่วนร่วมกับ Metaverse นั้นเป็นเรื่องที่ทุนต้องหนา ทุกอย่างต้องล้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วก็การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Metaverse อาจจะไม่ซับซ้อนเบอร์นั้นไปเสียทั้งหมด หากพิจารณาถึงความหมายของคำว่า Metaverse อย่างง่าย นั่นก็คือการใช้ชีวิตอีกโลกหนึ่งที่เราสามารถใช้ชีวิตและทำทุกอย่างได้เหมือนการอยู่บนโลกมนุษย์ปกติมากที่สุด เช่นการมีตัวตน การพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น รวมไปถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมไปถึงกิจกรรมเหนือมนุษย์อย่างการบินได้ หรือการแวบไปแวบมาที่ไหนได้ในชั่วครู่ ดังนั้นระดับของ Metaverse จึงมีความหลากหลายตามระดับเทคโนโลยีที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้น แต่ล้วนต้องใช้ขุมกำลังการประมวลผล Data ระดับมหาศาลอยู่เบื้องหลัง Verse นั้นๆ ทีนี้แล้วหากเราอยากทำความรู้จัก Metaverse อย่างง่ายแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หลายบทความจึงมักแนะนำให้ลองหัดเข้าไปเล่นในแพลตฟอร์มสำเร็จชื่อ Spatial.io ซึ่งวันนี้ทาง UNBOX จะนำพาไปรู้จักกันโดยคร่าวๆ ว่า Spatial.io นี้ทำอะไรได้บ้าง และจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานระดับ Corporate […]

เจาะลึกอาชีพ PR ของโอฮันบยอล จาก Sh**ting Star

ภาพประกอบจาก Facebook Fanpage TvN Drama และ TvN International วินาทีนี้ หนึ่งใน Series ที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดใน VIU ก็คือ Sh**ting Star ว่าด้วยเรื่องราวคนเบื้องหลังวงการบันเทิงในค่ายศิลปิน ที่กว่าจะปั้นและดูแลดาราแต่ละคนในวงการนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ต้องเจออุปสรรคและจัดการกับสารพัดข่าวที่ถาโถมเข้ามา โดยนางเอกของเรื่องที่เป็นคนจัดการข่าวสารของค่ายทุกอย่างได้อยู่หมัดนั่นก็คือ โอฮันบยอล (รับบทโดย อีซองคยอง) หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ของบริษัท Star Force Entertainment รับบทคู่กัดกับพระเอกซุปเปอร์สตาร์ประจำค่ายอย่าง กงแทซอง (รับบทโดย คิมยองแด) เรื่องราวไม่ได้ดำเนินไปด้วย Love Line สุดน่ารักสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังแฝงประเด็นการทำงานในสายประชาสัมพันธ์ของนางเอกสาวได้อย่างแนบเนียน ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกับเส้นเรื่องได้อย่างไม่ขัดเขิน บทความตอนนี้ของ UNBOX จึงจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกับอาชีพนักประชาสัมพันธ์ของ โอฮันบยอล กันให้มากขึ้น แน่นอนว่าตอนนี้หลายๆ คนน่าจะเข้าใจว่าอาชีพนักประชาสัมพันธ์แบบโอฮันบยอล ไม่ได้มีหน้าที่นั่งเคาท์เตอร์ตอบคำถามคนที่ผ่านไปมา (ตำแหน่งนี้จะเรียกว่าเจ้าหน้าที่ประจำจุดประชาสัมพันธ์) แต่แท้จริงแล้วนักประชาสัมพันธ์ในฐานะส่วนหนึ่งของการสื่อสารการตลาดองค์กรจะมีอะไรบ้าง เราไปเรียนรู้จากโอฮันบยอลกันเลยค่ะ *บทความนี้เขียนเมื่อ Sh**ting Star ออกอากาศถึงตอนที่ 6 ประเทศไทย และไม่มีการเปิดเผยเรื่องราวส่วนสำคัญที่ทำให้อรรถรสการชมลดน้อยลง […]

ตลาดอีเวนต์คึกคัก Hybrid และ Metaverse มาแรง

แม้สถานการณ์โควิดจะยังไม่คลี่คลายลง จำนวนผู้ติดเชื้อยังหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง แต่เหมือนว่าวงการอีเวนต์จะกลับมาคึกคักในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการกลับมาของการจัดงานขนาดใหญ่เต็มรูปแบบ เช่นงาน Bangkok International Motor Show 2022 ที่ผ่านมา รวมถึงงานบ้านและสวนแฟร์ SELECT ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน และงานสถาปนิกที่กำลังจะจัดขึ้นไม่ช้านี้ “เหมือนทุกอย่างถาโถมเข้ามาหลังจากเมื่อช่วงที่ผ่านมาเงียบจนแทบไม่ได้ออกจากบ้าน” สตาฟสายงานอีเวนต์หลายคนกล่าว หลังจากระลอกโควิดที่พัดผ่านไปมาหลายรอบ จนงานต้องเลื่อนออกไปหลายครั้ง หรือไม่ก็ลดขนาดลงจนเป็นงานออนไลน์ ที่ไม่ได้มีการว่าจ้างงานระบบและโครงสร้างชุดใหญ่ รวมไปถึงสตาฟเป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา (งาน Motor Show กลับมาจัดอย่างคึกคัก พร้อมการอัพเดตนวัตรกรรมยานยนตร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ขอบคุณภาพจาก Facebook: Bangkok International Motor Show) (ช่วงปีที่ผ่านมา สาว ๆ พริตตี้ในงาน Motor Show หรือ Motor Expo สวมใส่หน้ากากที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับชุดเป็นอย่างดี เปรียบเสมือนหนึ่งในชุดแต่งกายที่คุ้นเคย ขอบคุณภาพจาก Facebook: Bangkok International Motor Show) ทั้งนี้นักการตลาดต่างตระหนักดีว่า แม้สถานการณ์โควิดในเชิงสถิติจะยังไม่คลี่คลายลง แต่กิจกรรมการตลาดยังต้องดำเนินต่อไป และหลายๆ […]

Crisis Communication: เมื่อดราม่ามาเยือนได้ทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่

สมัยนี้ใน 1 วัน มีประเด็นดราม่าในโลกโซเชียลเยอะเสียเหลือเกิน แต่จะทำอย่างไรดีถ้าประเด็นดราม่านั้นเป็นเรื่องของแบรนด์เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแบรนด์เราเป็นแบรนด์ที่ไม่ได้ใหญ่มาก ไม่ได้มีทีมประชาสัมพันธ์มาคอยช่วยเหลือ เราจะรับมือได้ไหม ต้องทำอย่างไร บทความนี้ UNBOX นำหลักการอย่างง่ายสำหรับการสื่อสารในภาวะวิกฤต หรือ Crisis Communication มานำเสนอกันค่ะ ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าโดยพื้นฐานนั้นศาสตร์ด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต หรือ Crisis Communication นั้น โดยส่วนมากมักถูกบรรจุอยู่ในภาควิชาการประชาสัมพันธ์ ของคณะนิเทศศาสตร์หลายๆมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการสื่อสารในภาวะวิกฤตนั้นถือได้ว่าเป็นการดูแลภาพลักษณ์โดยตรงของทางแบรนด์ โดยจะแตกต่างไปยังการสร้างแบรนด์ หรือการประชาสัมพันธ์โดยทั่วไปที่เราคุ้ยเคยกันในเชิงรุก เช่นการสร้างโฆษณา การส่งข่าว แต่การสื่อสารในภาวะวิกฤต หรือ Crisis Communication นั้น คือการสื่อสารที่เน้นไปในทางการรับมือกับปัญหา ซึ่งอาจไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ดังนั้นแล้วหลายองค์กรจึงละเลยที่จะมีคนทำงานที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ไป ซึ่งพอเกิดปัญหาขึ้นจริงจึงทำให้บางองค์กรเกิดภาวะเคว้ง ลังเลว่าการสื่อสารในรูปแบบใดจะแก้ไขสถานการณ์ได้ดีที่สุด เพราะเราได้เห็นในหลายกรณีแล้วว่ามีหลายๆ แบรนด์ที่สื่อสารพลาด กลับเป็นการพลิกวิกฤต ให้กลายเป็นยิ่งกว่าวิกฤตเสียอีก ดังนั้นแล้วหลักปฏิบัติโดยง่ายเมื่อแบรนด์ของเราเกิดปัญหาขึ้นจึงมีดังนี้ค่ะ 1. รับทราบปัญหา และชี้แจงอย่างรวดเร็วภาวะวิกฤตจะน่ากลัวมากที่สุดเมื่อเกิดกระแสในทางลบที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ และเกิดเป็นเสียงข่าวลือที่แบรนด์ไม่ได้ออกมาแก้ไข ดังนั้นแล้วเมื่อเกิดดราม่าขึ้นกับแบรนด์เรา สิ่งแรกที่แบรนด์ต้องทำคือให้ความสนใจ และวางแผนว่าใครจะเป็นคนดูแลดราม่านี้ ใครหรือทีมใดจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และจะชี้แจงออกมาอย่างไรแต่ทั้งนี้ ในหลายครั้งการสืบถึงต้นเหตุของปัญหาก็อาจซับซ้อนและใช้เวลานานกว่าที่คิด ดังนั้นแล้วแบรนด์จึงควรมีความระมัดระวังในการแถลงถึงสาเหตุ และอย่ารีบร้อนแก้ตัวไปก่อนโดยที่ไม่ใช่ความจริง […]

Facebook Group แพลตฟอร์มที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม

นักการตลาดในยุคปัจจุบันหลายคนอาจสนใจการสร้างแบรนด์ใน Facebook Page แต่กลับหลงลืมช่องทาง Facebook Group ซึ่งเป็นพื้นที่ทางการตลาดที่ทรงอิทธิพลมากกว่าที่เราคิด หากใครที่ตาม Social Media เป็นประจำ จะสังเกตได้ว่า Facebook Group ที่โด่งดังในช่วง COVID เป็นต้นมานั้น มีตั้งแต่มาร์เก็ตเพลสของสถาบันการศึกษา เทรนด์ฮิตกลุ่มหม้อทอดไร้น้ำมัน การจัดโต๊ะคอมพ์ จนไปถึงกลุ่มความสนใจทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มคนที่สนใจย้ายไปใช้ชีวิตต่างประเทศเป็นต้น โดยในการเกิดของกรุ๊ปนั้นอาจจะเป็นเรื่องราวของความสนใจโดยบริสุทธิ์ใจ โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการค้าขายเบื้องหลังเป็นหลัก เช่นกลุ่มแฟนคลับศิลปิน กลุ่มศิษย์เก่า กลุ่มชื่นชมความน่ารักของน้องหมาน้องแมว ซึ่งอาจเกิดการซื้อขายกันได้เป็นประเด็นรองแล้วแต่กฎของกลุ่ม แต่ก็ยังมีกลุ่มประเภทหนึ่งที่มีความชัดเจนด้านการซื้อขาย เช่นกลุ่มซื้อขายต้นไม้ อุปกรณ์มือสองต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่าสำหรับตอนนี้แล้ว สินค้าทุกประเภทบนโลกนั้นแทบจะมี Facebook Group Community เป็นของตนเอง จากบทความ “How to build your community with Facebook Groups” ของ SproutSocial  ได้กล่าวว่าสำหรับนักการตลาดแล้ว Facebook Group มีข้อดีดังต่อไปนี้ 1. ให้ […]

Pitching อย่างไรให้ Win

การ Pitching นั้นเกิดได้ในหลายโอกาส โดยอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาบริษัท Startup ต่างๆ นำเสนอไอเดียและแผนการในการดำเนินธุรกิจให้แก่นักลงทุน หรืออาจเป็นศัพท์ที่ใช้ทั่วไปเมื่อเอเจนซี่ Pitch งาน ให้ลูกค้าหลายแบรนด์เลือกใช้บริการ ดังนั้นแล้วความหมายโดยรวมของการ Pitching นั่นก็คือการนำเสนอไอเดียให้ถูกใจลูกค้า และได้รับเลือกท่ามกลางคู่แข่งที่อาจจะมีจำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์ ดังนั้นแล้ว Pitching จึงถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของหลายบริษัท เพราะถือว่าเป็นหน้าด่านทางธุรกิจที่จะทำให้เกิดพันธะสัญญาทางธุรกิจตามมา แต่หลายบริษัทอาจมีปัญหาในการ Pitching ว่าทั้งๆ ที่ตนเองมีเนื้อหาที่ดี แต่กลับไม่มั่นใจ หรือไม่ประสบความสำเร็จในการ Pitching วันนี้ทาง UNBOX จึงรวบรวม Tips การ Pitching มาฝากกัน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกรูปแบบของการ Pitching ค่ะ 1. ทำการบ้าน ศึกษาลูกค้า และศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน สิ่งที่เป็นขั้นตอนพื้นฐานแต่เรามักหลงลืมกันไป นั่นก็คือหลังจากที่เราพัฒนาเนื้อหาจนเสร็จสิ้นก่อนจะไปขึ้นเวที Pitching จริง ลองกลับไปอ่านบรีฟของลูกค้า หรือตรวจสอบความเข้าใจที่มีต่อลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง เพราะบางครั้งเราอาจพัฒนางานตามบรีฟที่ได้รับ แต่เมื่อพัฒนางานไปเรื่อยๆ ไอเดียนั้นอาจจะฟุ้งจนหลงลืมความต้องการของลูกค้าบางประการไป และที่สำคัญลองตรวจสอบเกณฑ์การให้คะแนนให้ดีอีกครั้งหนึ่ง เราจะได้มั่นใจว่าเราไม่ได้หลงลืมการให้ความสำคัญกับส่วนไหนไป เช่นบางครั้งกรรมการอาจให้ความสำคัญกับ Teamwork แต่เราอาจมองข้ามประเด็นนี้ไปก็เป็นได้ค่ะ 2. […]

เมื่อที่ทำงานกลายเป็น Hybrid กับหลายเรื่องที่ต้องคิดและอาจมองข้าม

ไม่ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายลงหรือไม่ แต่ออฟฟิศหลายแห่งได้เริ่มปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบไฮบริดถาวร กล่าวคือมีการผสมผสานกันระหว่างการทำงานแบบออนไลน์ และเข้าออฟฟิศ โดยเมื่อพูดถึงความไฮบริดนี้ หลายคนอาจจะให้ความสำคัญแค่เรื่องเทคโนโลยีเป็นสำคัญ แต่แท้จริงแล้ว ในด้านวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความพึงพอใจให้แก่พนักงาน และความละเอียดอ่อนทางด้านการจัดสรรงาน และการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ มักเป็นเรื่องที่องค์กรมองข้าม ล่าสุด Harvard Business Review ได้เผยแพร่บทความ “5 แนวทางปฏิบัติที่จะทำให้ที่ทำงานแบบไฮบริดของคุณไม่หลงลืมใคร (5 Practices to Make Your Hybrid Workplace Inclusive)” โดย Grace Lordan, Teresa Almeida และ Lindsay Kohler ซึ่งมีความน่าสนใจที่ได้หยิบยกประเด็นที่เหมือนจะเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างการทำงานแบบไฮบริด แต่อาจสร้างประเด็นใหญ่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรทั้งในเชิงลบและเชิงบวกได้ ทาง UNBOX จึงนำมาแปลสรุปให้ฟังกันค่ะ 1. การสัมภาษณ์พนักงาน และการรับพนักงานใหม่แบบออนไลน์ หลายบริษัทปรับการสัมภาษณ์ และการรับพนักงานเข้าที่ทำงานเป็นรูปแบบออนไลน์ 100% เนื่องจากเล็งเห็นข้อดีในด้านความสะดวก การสามารถเข้าถึงผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในระยะที่ไกล และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สมัครเอง จนไปถึงแม้จะรับพนักงานเข้ามาทำงานแล้ว บางครั้งจนถึงทุกวันนี้ หลายที่ทำงานยังไม่เคยจะเจอพนักงานใหม่ตัวเป็นๆ ก็มี […]

Cognitive Dissonance กับความวุ่นวายใจในการซื้อของผู้บริโภค

เคยไหมที่เวลาซื้อของอะไรสักชิ้นที่ดูจะไม่จำเป็นเลย แต่กลับหาเหตุผลให้ตัวเองต้องซื้อให้ได้อย่างน่าประหลาดเคยไหมที่หลังซื้อสินค้าราคาแพงชิ้นหนึ่งไป แล้วกลับเจอรุ่นที่เหมือนจะดีกว่า และถูกกว่า ถึงแม้จะเสียดาย แต่ก็ได้แต่บอกตัวเองว่าที่ซื้อไปนั่นดีแล้ว พฤติกรรมทางจิตวิทยาเหล่านี้เรียกว่า Cognitive Dissonance แปลเป็นภาษาไทยได้อย่างตรงตัวว่า “ความขัดแย้ง/ไม่ลงรอยทางปัญญา” หรือถ้าให้อธิบายอย่างง่าย หมายถึงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เมื่อเกิดความขัดแย้งกันระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง (หรือมากกว่า) ในจิตใจ โดยสิ่งหนึ่งมักเป็นความเชื่อเดิมหรือสิ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว กับข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่ได้รับทราบเข้ามาใหม่ ซึ่งมนุษย์เราย่อมรู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจกับความรู้สึกขัดแย้งดังกล่าว (ไม่มีใครชอบที่ตัวเองตัดสินใจผิด) และต้องหาทางขจัดความรู้สึกนั้นออกไปไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีใดก็ตาม Cognitive Dissonance ถือได้เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่ได้รับการศึกษามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยที่ Leon Festinger ได้เริ่มพูดถึงประเด็นนี้ตั้งแต่ปี 1957 แต่ในปัจจุบันก็ยังได้รับการพูดถึงในวงการจิตวิทยาการตลาด และสามารถอธิบายพฤติกรรมหลายๆ อย่างของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากจะลองยกตัวอย่างในชีวิตประจำวันนั้น อาจจะเป็นการที่เราอยากได้ของกระเป๋าราคาแพงสักชิ้นหนึ่ง แต่เรารู้อยู่แก่ใจว่าเราเป็นคนประหยัดและต้องจำกัดค่าใช้จ่าย การแก้ปัญหาของเรานั้นอาจจะเป็นไปได้หลายอย่าง ตั้งแต่พยายามหาข้อเสียของสินค้าชิ้นนั้นมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าไม่ควรค่าแก่การซื้อ หรืออาจจะตัดสินใจซื้อแต่ให้เหตุผลตนเองว่าสามารถซื้อเงินผ่อน หรือสินค้าชิ้นนี้ไม่ใช่สินค้าแฟชั่นที่แพงโดยทั่วไปแต่เป็นการลงทุนทางสถานะ และหากใช้ไปนานๆ ก็อาจจะคุ้มค่ากว่าการซื้อกระเป๋าราคาถูกก็เป็นไปได้ จากตัวอย่างนี้จึงเห็นได้ว่ามนุษย์ย่อมทำอะไรสักอย่างเพื่อลบล้างความขัดแย้ง ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาต้องตัดสินใจซื้อ ดังนั้นแล้วจึงกล่าวได้ว่า Cognitive Dissonance นั้นจริงๆ แล้วคือการต่อสู้ภายในจิตใจผู้บริโภค และตรงนี้นี่เองที่เป็นจุดสำคัญที่การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภค เพราะถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะได้สื่อสารกับผู้บริโภคก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจ หรือที่แย่ที่สุดคือรู้สึกว่าตัดสินใจพลาด แล้วรู้สึกแย่กับแบรนด์ของเราไปตลอดกาล โดยในสื่อโฆษณา […]

เมื่อการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ เหนื่อยล้ากว่าที่คิด

หลายๆ ออฟฟิศเริ่มให้พนักงานกลับไปทำงานปกติ หลังจาก Work from Home กันมาติดต่อกันหลายเดือน แต่น่าแปลกใจว่าหลายคนกลับมีอาการเหนื่อยล้าเมื่อต้องกลับมาทำงาน และไม่ได้โหยหาการกลับเข้าออฟฟิศมาเจอเพื่อนร่วมงานอย่างที่คิดทีมงาน UNBOX จึงได้แปลส่วนหนึ่งของงบทความ Don’t Let Returning to the Office Burn Out Your Team เขียนโดย Rahaf Harfoush จาก Harvard Business Review (สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่) ซึ่งให้หลักคิดทางจิตวิทยา และวิธีปฏิบัติที่จะทำให้การกลับมาทำงานที่ออฟฟิศนั้นมีความดีต่อใจ อย่างค่อยเป็นค่อยไป หัวหน้าทีม หรือเจ้าของบริษัทท่านใดที่รู้สึกว่าพนักงานมีความรู้สึกไม่สดชื่นเวลาได้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ลองพิจารณาข้อเหล่านี้ได้ค่ะ โดยภาพรวมแล้วในการกลับไปทำงานหลังจากช่วง Work from Home อันยาวนานนั้น นักจิตวิทยาแนะนำว่าควรทำให้การกลับมาทำงานและพบปะสังคมที่ทำงานนั้นควรค่อยเป็นค่อยไป McKinsey เผยว่า 1 ใน 3 ของพนักงานกล่าวว่าการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศนั้นทำให้พวกเขารู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เครียด และเป็นกังวลเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างเช่น เกือบ 40% ของพนักงานนั้นมีความปรารถนาจะลาออกหากทางบริษัทบังคับให้กลับเข้ามาทำงานเต็มเวลา […]

พร้อมกันหรือยังกับ Offline Activation

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อ และทำให้แบรนด์ต่างๆ อาจไม่สามารถจัดงาน Offline ได้ตามกฎหมาย แต่เนื่องด้วยสถานการณ์และกฎระเบียบที่เริ่มผ่อนคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤศจิกายนนั้น เราจะเริ่มเห็นแบรนด์เริ่มกลับมาจัดกิจกรรมตามห้าง ทั้งอีเวนต์เพื่อการขาย การแสดงสินค้า การประชุม สัมมนา หรือหากสังเกตคนใกล้ตัวเราก็พบว่ามีหลายคู่ที่ได้โอกาสจัดงานแต่งงานในช่วงนี้ แต่ผู้บริโภคหรือแม้แต่ตัวเราเองมั่นใจจริงหรือเปล่า ว่าการเข้าร่วมงานนั้นจะปลอดภัย และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทุกอย่างได้อย่างสบายใจตามปกติ ดังนั้นแล้วในการจัด Offline Activation หรือกิจกรรม On Ground ต่างๆ จึงต้องมีมาตรการหรือการวางแผนงานที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย และที่สำคัญที่สุด สตาฟต้องรู้สึกสบายใจในการดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง เพราะคนที่ต้องเจอกับลูกค้าของเราเป็นจำนวนมากที่สุดก็คือสตาฟของเราเอง ดังนั้นวันนี้ UNBOX จึงได้รวบรวม Tips เล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้แบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มอยากลุย Offline Activation ได้สร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้บริโภคและสตาฟมากยิ่งขึ้นค่ะ ยึดตามมาตรการมาเป็นอันดับ 1ก่อนจัดงานลองอัพเดตประกาศของทางรัฐบาลกันสักหน่อยว่าในการจัดงานตอนนี้นั้นรวมตัวกันได้สูงสุดกี่คน หากเป็นไปตามมาตรการแล้ว ลองตรวจสอบว่าพื้นที่การจัดงานของเรานั้นได้ทำตามกฏระเบียบมาตรฐานของการจัดงานหรือไม่ หรืออาจอ้างอิงกับ Standard ที่มีหน่วยงานรองรับ เช่นโรงแรมที่เราจัดงานนั้นได้รับมาตรฐาน SHA หรือ SHA Plus ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety […]