PODCAST – The Art of Storytelling Using Sound: แค่เสียงก็เข้าถึงกันได้

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”4.3.3″ custom_margin=”0px||||false|false” custom_padding=”0px||||false|false”][et_pb_row _builder_version=”3.25″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.25″ custom_padding=”|||” custom_padding__hover=”|||”][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_font_size=”22px” text_letter_spacing=”1px” text_line_height=”1.3em” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”]

[addthis tool=”addthis_inline_share_toolbox”]

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.4.4″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_font_size=”22px” text_letter_spacing=”1px” text_line_height=”1.3em” header_font=”Thai Regular||||||||” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_font_size=”28px” header_3_font=”Thai Regular||||||||” header_3_font_size=”26px” header_4_font=”Thai Regular||||||||” header_4_font_size=”24px” header_5_font=”Thai Regular||||||||” header_5_font_size=”21px” header_6_font=”Thai Regular||||||||” header_6_font_size=”18px” background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”]

ลองสังเกตดูว่าทุกวันนี้เราได้รับข้อมูลข่าวสารหรือ Content ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดูผ่าน YouTube อ่านจาก Blog หรือ Website ต่างๆ หรือผ่านสื่อ Offline เช่นวิทยุ หนังสือพิมพ์ แต่มีสื่อหนึ่งที่หลายคนในประเทศไทยอาจยังไม่คุ้นเคย นั่นคือ PODCAST (พอดแคสต์) ซึ่งเป็นสื่อที่มาแรงในปี 2019 วันนี้ทีมงาน UNBOX BKK จะมาเล่าให้ฟังว่า Podcast จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้นและจะทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ได้อย่างไรกันค่ะ

ทำความรู้จัก PODCAST
PODCAST ที่เราเคยได้ยินกันในทุกวันนี้ จริงๆแล้วมีต้นกำเนิดนานกว่า 10 ปีมาแล้ว! แต่ไม่ได้ใช้ชื่อว่า Podcast แต่เป็น Audio Blog ซึ่งหมายถึงการทำ Blog ในรูปแบบของเสียงเท่านั้น และด้วยตัวแปรสำคัญอย่างอินเตอร์เน็ตและเครื่องเสียงพกพารุ่นแรกๆอย่าง iPod ทำให้ปี 2004 ได้เป็นปีที่ PODCAST ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

PODCAST ต่างจากวิทยุตรงที่ตัวรายการจะไม่ได้ใช้สัญญาณวิทยุในการกระจายเสียง แต่เป็นสัญญาณอินเตอร์เน็ต ข้อได้เปรียบคือผู้ฟังสามารถ Download และย้อนกลับไปฟังตอนไหนก็ได้ นับว่าเป็นการถ่ายทอด Content ในรูปแบบ Digital อีกหนึ่งรูปแบบที่เพิ่มช่องทางให้ธุรกิจและแบรนด์ทำ Content ให้มีสีสันและท้าทายมากยิ่งขึ้น ทุกวันนี้ผู้ฟังสามารถฟัง PODCAST ได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบนมือถือหรือบน PC ที่มี Application และ/หรือเว็ปไซต์อย่าง Apple Podcasts, Google Podcasts, Podbean, Spotify, JOOX, Anchor, Soundcloud หรือบน YouTube

ทุกวันนี้ PODCAST ช่องที่เป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียวก็มีมากกว่า 115,000 ช่องแล้ว! ส่วนรายการ PODCAST ที่เป็นภาษาไทยปัจจุบันนี้ก็มีเป็นหลักร้อยรายการจากหลายสำนักเช่นกันค่ะ

มี Content อะไรบ้างบน PODCAST
ในประเทศไทย PODCAST เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การเติบโตค่อนข้างสูงมากและมีผู้ฟังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2019 นั้น มีรายการหลายหลากมากไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและบำบัดตนเอง อัพเดทเทคโนโลยี การฝึกภาษาอังกฤษ วิเคราะห์หนังสือ การเมือง ธุรกิจ สังคมและครอบครัว การพูดให้แรงบรรดาลใจ การเงิน การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ ธรรมะ สุขภาพและการกีฬา เรื่องอวกาศ รวมไปถึงเรื่องลี้ลับ และเชื่อไหมว่าเนื้อหาทั้งหมดนี้ได้รวมอยู่ในช่องเดียว ขอยกตัวอย่าง The Standard ที่เป็นช่องใหญ่และถือว่าเป็น Early Adaptor ของประเทศไทยในวงการ PODCAST จริงๆแล้ว The Standard เป็นสำนักข่าวที่แตกไลน์มาทำ PODCAST และแยกกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน มีรายการที่มีเนื้อหาต่างกันมากถึง 23 รายการ รวมกันแล้วมีเกือบ 1000 Episode เลยทีเดียว! แค่รายการสายธุรกิจ The Secret Sauce และ Executive Espresso ที่ดำเนินรายการโดยคุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าว THE STANDARD คนเดียว ก็มีมากกว่า 300 Episodes เข้าไปแล้ว

 
(ขอบคุณรูปประกอบจากสำนักข่าว The Standard)

แต่ก็ไม่จำเป็นเลยที่ PODCAST ต้องจำกัดอยู่แค่สำนักข่าวเท่านั้น อย่าง Fashion Brand เองก็มีทำรายการ PODCAST ออกมาเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงตัวแบรนด์มากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มคุณค่า (Brand Value) โดยการเล่าประวัติความเป็นมาของชิ้นงานแต่ละชิ้น หรือแม้กระทั้งการแสดงจุดยืนของแบรนด์ให้ผู้ฟังได้รับทราบและเกิด Perception ที่ดีต่อแบรนด์ ตัวอย่างเช่นแบรนด์แฟชั่นสุดชิค GUCCI ที่ทำซีรี่ย์ PODCAST ออกมา แต่ละตอนก็มีเนื้อหาที่หลากหลาย ทั้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อโลกของเราที่ทาง GUCCI เองได้ไป Collab กับสื่ออย่าง Fast Company รวมถึงมี Episode แนว Social Impact ที่พูดถึง Campaign ที่ชื่อว่า “CHIME for CHANGE” ที่เกี่ยวกับการผลักดันความเท่าเทียมในสังคมให้กับเพศหญิง ก่อตั้งโดยเซเลปชื่อดังอย่าง Salma Hayek-Pinault, Frida Giannini และตัวแม่แห่งวงการอย่าง Beyoncé Knowles-Carter ตั้งแต่ปี 2013

ธุรกิจสามารถนำ PODCAST ไปปรับใช้อย่างไรได้บ้าง?
การใช้ PODCAST สำหรับธุรกิจแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือการทำ Content และทำ Production ด้วยตัวเอง (ไม่ยากอย่างที่คิดนะคะ) ประเภทที่สองคือการซื้อพื้นที่สื่อจากรายการ PODCAST ที่มีอยู่แล้ว

การซื้อพื้นที่สื่อเป็นทางลัดที่ช่วยกระจายเนื้อหาของแบรนด์ออกไปสู่วงกว้างได้ดี เนื่องจาก Content Providers เหล่านี้มักจะมีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว ซึ่งเหมาะกับแบรนด์หรือธุรกิจที่พร้อมจะลงทุนเพื่อเห็นผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว โดยธุรกิจหรือแบรนด์สามารถติดต่อผู้ผลิตรายการเพื่อพูดคุยเนื้อหาเกี่ยวกับแบรนด์ให้เข้ากับวิธีการที่รายการ PODCAST นำเสนอ สามารถทำได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

รูปแบบที่ 1: จัดทำเนื้อหาและการผลิตรายการใหม่ทั้งหมดกับตัวแบรนด์ อาจทำมากกว่า 1 Episode เพื่อความต่อเนื่องของ Content เหมาะกับแบรนด์ใหญ่ที่อยากทำเนื้อหาแบบ Mass สิ่งที่แบรนด์จะได้รับนอกจากเนื้อหาของ PODCAST ก็คือการที่ Corporate Identity ทั้งหมดจะปรากฏบนสื่อต่างๆและบนแพลตฟอร์ม PODCAST ด้วย รูปแบบนี้จะทำให้ผู้ฟังรายการรับรู้ได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับแบรนด์ และสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ตาม Content ที่ได้รับฟังไปในแต่ละตอน แน่นอนว่ารูปแบบนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายมหาศาลทีเดียว

รูปแบบที่ 2: การแทรก Content พิเศษที่เชื่อมโยงกับแบรนด์ระหว่างรายการ รวมถึงสปอตโฆษณาตามรูปแบบที่รายการผู้ผลิตจัดทำอยู่แล้ว บางรายการสามารถจัดทำสัมภาษณ์พิเศษได้เช่นกัน เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของแบรนด์หรือ Presenter ได้พูดถึงแบรนด์อย่างเต็มที่

ดังนั้นเป็นหน้าที่ของแบรนด์ในการเลือกรายการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น ธุรกิจบริการด้านการเงินหรือธนาคาร อาจมองหารายการสไตล์ The Money Case by The Money Coach ซึ่งเป็นรายการออกแบบวิธีดูแลการเงินที่มียอดผู้ฟังหลักแสนจากหลายๆ Platform รวมกัน เพื่อเป็นการเข้าถึงผู้ฟังในวงกว้างและตอบโจทย์ข้อมูลของแบรนด์ที่อยากจะสื่อให้กับผู้ฟังอีกด้วย

podcast

สำหรับการผลิตรายการ PODCAST เองก็ทำให้แบรนด์มีอิสระในการปรับเนื้อหาที่อยากจะสื่อสารให้กับผู้ฟังได้ตามที่ต้องการ แต่การจะทำให้รายการให้ปังได้นั้นก็ไม่ง่าย เรื่อง First Impression เป็นสิ่งที่สำคัญมากและถือเป็นด่านแรกที่ผู้ฟังจะเปิดใจรับฟัง Content ต่างๆ ผู้ฟังมักรู้สึกเสมอว่าฉันจะได้อะไรกลับมาจากการฟังนี้ ไม่ว่าจะเป็นความบันเทิง ความรู้เพิ่มเติม ความรู้สึกมีประโยชน์ หากสามารถทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกร่วมตรงนี้ได้ ก็จะถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี Content ก็สำคัญมากเพราะต้องสื่อสาร Key Message ของเรื่องนั้นๆให้ตรงตาม Objective ของการ PODCAST และหากสามารถสื่อเนื้อหาได้ตรงใจคนฟังแล้ว ก็จะเพิ่ม Engagement ได้มากขึ้น สังเกตได้จากการที่กลุ่มเป้าหมายจะคอยติดตาม Content ของแบรนด์ เช่นการมา Comment ใน Social Media ของเราว่า เมื่อไหร่จะมี Episode หน้าออกมา เป็นต้น

เนื่องจาก PODCAST เป็นการเสพสื่อโดยการฟัง ดังนั้นขอให้ใส่ใจกับคุณภาพของเสียง น้ำเสียงที่ใช้ รวมถึง Special Effect ประกอบการ PODCAST ตลอดรายการ แม้ว่า Content จะตื่นเต้นหรือน่าหวาดเสียวเบอร์ไหนก็ไม่ควรใช้เสียงโทนแหลมหรือกรีดร้อง อย่าลืมว่าผู้ฟังสามารถฟังอยู่ที่ไหนทุกแห่งก็ได้บนโลกถ้ามี Internet อาจกำลังอาบน้ำ แต่งตัว ขับรถ ทานข้าว หรือฟังก่อนเข้านอน การทำให้เกิดความรำคาญใจเพียงนิดเดียวก็สามารถทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่พอใจและไม่อยากที่จะรับข่าวสารจากแบรนด์อีกต่อไป

สำหรับแบรนด์หรือธุรกิจที่ตัดสินใจผลิต PODCAST ด้วยตัวเองแบบมือสมัครเล่น ไม่ได้มี Production หวือหวา อันดับแรกควรเริ่มจากการร่างเนื้อหา และเล่าออกมาโดยการอัดเสียงโดยใช้ฟังก์ชั่น Voice Recorder ใน Smart Phone หลังจากนั้นสามารถตัดต่อเสียงเพลง Jingle หรือเพลงบรรเลงเข้าไปเพื่อเสริมความบันเทิงในการรับฟัง ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำ Graphic ง่ายๆที่มีชื่อแบรนด์และชื่อ Episode โดยการใช้ตัวช่วยอย่าง CANVA ซึ่งสามารถอัพโหลดบน Soundcloud และสามารถแชร์ไปยังเพจหลักของแบรนด์ได้อีกด้วย

PODCAST มีข้อเสียหลักๆคือเราไม่สามารถกลับไปแก้ข้อมูลที่เคยสื่อสารออกไปแล้วได้ ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการทำ Content เช่น รายการเกี่ยวกับการหางานจะไม่เหมาะที่จะหยิบยกมาเป็นหัวข้อเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างไว แต่ก็มีข้อดีคือทำให้ผู้ฟังคอยติดตามเราไปเรื่อยๆเช่นกัน

สามารถลองหาแนวทางหรือหารายการที่เหมาะกับธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณได้โดยการลองฟัง สำรวจ และสังเกตจากเหล่า Podcaster ทั้งหลาย และนำมาปรับใช้กับตัวเองนะคะ

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”4.3.3″ top_divider_color=”rgba(34,64,154,0.31)” top_divider_flip=”horizontal” border_width_top=”2px” border_color_top=”#22409a” border_width_bottom=”2px” border_color_bottom=”#22409a”][et_pb_row column_structure=”2_5,3_5″ _builder_version=”4.3.3″ custom_padding=”0px||0px||false|false”][et_pb_column type=”2_5″ _builder_version=”4.3.3″][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/03/pea.png” align=”center” _builder_version=”4.3.3″ width=”60%”][/et_pb_image][/et_pb_column][et_pb_column type=”3_5″ _builder_version=”4.3.3″][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Avenir||||||||” header_2_font=”|700||on|||||” header_2_text_color=”#f15a2c” header_2_font_size=”22px” header_3_font=”Avenir|700|||||||” header_3_font_size=”20px” custom_padding=”10px||||false|false”]

Contributor

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.3.3″ text_font=”Avenir||||||||” header_2_font=”|700||on|||||” header_2_text_color=”#f15a2c” header_2_font_size=”22px” header_3_font=”Avenir|700|||||||” header_3_font_size=”20px” custom_padding=”0px||||false|false”]

Sara Komolsil

A Business Development Manager in Telco & Startup Ecosystem building related sector. She adores digital art, digital lifestyle and immersive experiential marketing. Always look out for hype culture. Adopting intermittent fasting to keep healthy lifestyle.

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Nisara Sittatikarnvech

ถอดสูตรลับความสำเร็จของ ‘BLACKPINK’ เบื้องหลังมีแผนปั้นความดังและปังอะไรอยู่บ้าง

ระยะเวลา 4 ปีในวงการเพลงกับบทพิสูจน์การครองตำแหน่ง ‘ยืนหนึ่ง’ ของวงเกิร์ลกรุ๊ปจากเกาหลีใต้อย่าง BLACKPINK คือโจทย์ที่ท้าทายสำหรับทั้งค่ายเพลงและสมาชิกสี่สาว ถึงแม้ว่าดูเผินๆ ทุกอย่างจะลงล็อกได้อย่างง่ายดายและสวยงาม แต่ด้วยจำนวนวงไอดอลที่เกิดขึ้นใหม่อยู่เรื่อยๆ

Read More »
Comodo SSL