Gamification Marketing การตลาดที่ใช้ ‘ความสนุก’ และ ‘ความอยากเอาชนะ’ เป็นอาวุธทีเด็ด!

ทุกคนคงจำความรู้สึกเวลาที่เรานั่งใจจดใจจ่ออยู่กับหน้าจอ มุ่งมั่นตั้งใจเอาชนะเกมๆ นึงเพื่อให้ผ่านด่านบอส เก็บแต้มให้ได้มากที่สุด และจบเกมด้วยรสชาติของชัยชนะในวัยเด็กพอได้ใช่ไหม? ความรู้สึกนี้แหละที่เรากำลังจะพูดถึงในบทความนี้ ไม่ได้เป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบที่ผ่านมาและผ่านไป แต่ในฐานะของความรู้สึกที่เป็นตัวตั้งต้นของหนึ่งในเทคนิคทางการตลาดที่กำลังครอง เทรนด์ของปี 2021 นี้อยู่! คำตอบก็คือ Gamification หรือสิ่งที่ UNBOX จะพาคุณผู้อ่านไปสำรวจในวันนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีสุดเจิดที่ทำให้คนร่วมสนุกไปด้วย และใช้เวลาบนแพลตฟอร์มของแบรนด์ได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นไม้เด็ดอันชาญฉลาดที่ช่วยผลักดันให้เกิดยอดขายได้อย่างสำเร็จอีกด้วย เริ่มต้นง่ายๆ แค่เอาความสนุกของเกมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการสร้างกลยุทธ์อื่นต่อ What is Gamification มันคืออะไร?คำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยอย่างแรกเมื่อกล่าวถึง Gamification ก็คือแบรนด์จำเป็นต้องสร้างเกมส์ระดับ Super Mario ฝังอยู่บนหน้าเว็บไซต์เลยไหม Neil Patel ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing บอกเอาไว้ว่าการทำ Gamification จริงๆ แล้วหมายถึงการดึงเอาองค์ประกอบเด่นๆ ที่อยู่ในเกมมาใช้กับการตลาดทั่วไป ตัวอย่างเช่นอาจจะสร้างภารกิจที่ให้ผู้เล่นทำทีละด่าน, การเก็บสะสมแต้ม หรือการให้โลโก้พิเศษ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องสร้างเกมส์แบบจริงจังเสมอไป แค่มีการกำหนดโจทย์ให้กับผู้ใช้งานทำจนบรรลุเป้าและได้รับรางวัลสักชิ้น ก็ถือว่าเป็นกลไกของการ Gamify ที่สมบูรณ์แล้ว Gamification นำพา Engagement และยอดขายสุดปังการเพิ่มลูกเล่นด้วยการสร้างเกมสนุกๆ ให้กับลูกค้าได้มีส่วนร่วม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมกับตัว Platforms […]

Cognitive Dissonance กับความวุ่นวายใจในการซื้อของผู้บริโภค

เคยไหมที่เวลาซื้อของอะไรสักชิ้นที่ดูจะไม่จำเป็นเลย แต่กลับหาเหตุผลให้ตัวเองต้องซื้อให้ได้อย่างน่าประหลาดเคยไหมที่หลังซื้อสินค้าราคาแพงชิ้นหนึ่งไป แล้วกลับเจอรุ่นที่เหมือนจะดีกว่า และถูกกว่า ถึงแม้จะเสียดาย แต่ก็ได้แต่บอกตัวเองว่าที่ซื้อไปนั่นดีแล้ว พฤติกรรมทางจิตวิทยาเหล่านี้เรียกว่า Cognitive Dissonance แปลเป็นภาษาไทยได้อย่างตรงตัวว่า “ความขัดแย้ง/ไม่ลงรอยทางปัญญา” หรือถ้าให้อธิบายอย่างง่าย หมายถึงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เมื่อเกิดความขัดแย้งกันระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง (หรือมากกว่า) ในจิตใจ โดยสิ่งหนึ่งมักเป็นความเชื่อเดิมหรือสิ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว กับข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่ได้รับทราบเข้ามาใหม่ ซึ่งมนุษย์เราย่อมรู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจกับความรู้สึกขัดแย้งดังกล่าว (ไม่มีใครชอบที่ตัวเองตัดสินใจผิด) และต้องหาทางขจัดความรู้สึกนั้นออกไปไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีใดก็ตาม Cognitive Dissonance ถือได้เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่ได้รับการศึกษามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยที่ Leon Festinger ได้เริ่มพูดถึงประเด็นนี้ตั้งแต่ปี 1957 แต่ในปัจจุบันก็ยังได้รับการพูดถึงในวงการจิตวิทยาการตลาด และสามารถอธิบายพฤติกรรมหลายๆ อย่างของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากจะลองยกตัวอย่างในชีวิตประจำวันนั้น อาจจะเป็นการที่เราอยากได้ของกระเป๋าราคาแพงสักชิ้นหนึ่ง แต่เรารู้อยู่แก่ใจว่าเราเป็นคนประหยัดและต้องจำกัดค่าใช้จ่าย การแก้ปัญหาของเรานั้นอาจจะเป็นไปได้หลายอย่าง ตั้งแต่พยายามหาข้อเสียของสินค้าชิ้นนั้นมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าไม่ควรค่าแก่การซื้อ หรืออาจจะตัดสินใจซื้อแต่ให้เหตุผลตนเองว่าสามารถซื้อเงินผ่อน หรือสินค้าชิ้นนี้ไม่ใช่สินค้าแฟชั่นที่แพงโดยทั่วไปแต่เป็นการลงทุนทางสถานะ และหากใช้ไปนานๆ ก็อาจจะคุ้มค่ากว่าการซื้อกระเป๋าราคาถูกก็เป็นไปได้ จากตัวอย่างนี้จึงเห็นได้ว่ามนุษย์ย่อมทำอะไรสักอย่างเพื่อลบล้างความขัดแย้ง ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาต้องตัดสินใจซื้อ ดังนั้นแล้วจึงกล่าวได้ว่า Cognitive Dissonance นั้นจริงๆ แล้วคือการต่อสู้ภายในจิตใจผู้บริโภค และตรงนี้นี่เองที่เป็นจุดสำคัญที่การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภค เพราะถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะได้สื่อสารกับผู้บริโภคก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจ หรือที่แย่ที่สุดคือรู้สึกว่าตัดสินใจพลาด แล้วรู้สึกแย่กับแบรนด์ของเราไปตลอดกาล โดยในสื่อโฆษณา […]

แชร์วิธีการการนับยอด views ของแต่ละ Social Media Platforms

ในการทำคลิปวิดีโอผ่านทางช่องทาง Social Media นั้น สิ่งสำคัญที่ธุรกิจและแบรนด์ควรรู้ก็คือแต่ละ Platform มีวิธีการนับคนดูคลิปหรือระบบการคำนวณแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะจะช่วยให้การทำวีดีโอแต่ละคลิปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น และดำเนินการทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย ทางทีม UNBOX จึงอยากแชร์วิธีนับยอดวิวคลิปของ Social Media แต่ละแพลตฟอร์ม เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับแบรนด์ ธุรกิจ นักการตลาด หรือ Video Content Creator เองก็ตาม โดยบทความนี้จะเน้นที่ยอดคนดูวีดีโอคลิปเป็นหลักค่ะ 1. FacebookFacebook เป็น Social Media ที่เรียกว่าได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้งาน มีผู้คนใช้บริการจำนวนมากและมีการดูคลิปวีดีโอมากถึงแปดพันล้านครั้งต่อวัน ซึ่งการนับยอดวิวของ Facebook นั้น จะเริ่มนับเมื่อมีคนดูคลิปอย่างน้อย 3 วินาทีแม้ว่าจะปิดเสียง สำหรับความยาวสูงสุดของคลิปวีดีโอที่ลงในแพลตฟอร์มนี้ได้คือ 45 นาที นอกจากนี้ Facebook เองก็ยังมีระบบการเล่นคลิปอัตโนมัติซึ่งทำให้นับยอดวิวได้มากขึ้น รวมถึงการเล่นคลิปเมื่อมีคนเลื่อน Feed และหยุดดูเพียง 3 วินาที 2. InstagramInstagram เริ่มต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มที่รู้จักกันดีในเรื่องของแชร์รูปภาพ แต่ในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ผู้ใช้ Instagram […]