จิตวิทยากล่องพัสดุ: ประทับใจแค่ไหน ถามใจคนรับ

เริ่มต้นปี 2021 UNBOX BKK ขอเริ่มด้วยบทความวิจัยที่ย่อยง่ายสนุกๆมาให้อ่านกันกับเรื่องราวของจิตวิทยากับกล่องพัสดุ เพราะเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านน่าจะเคยสั่งซื้อของออนไลน์แล้วน่าจะจดจำความรู้สึกเวลาได้รับกล่องพัสดุจากมือขนส่งได้ ลองทบทวนกันก่อนค่ะว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ดีใจ ประหลาดใจ หรือผิดหวัง? วันนี้เราหยิบงานวิจัยมาอธิบายอารมณ์ความรู้สึกถูกใจและผิดหวังเมื่อได้รับกล่องพัสดุ โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีชื่อว่า The conditional enjoyment-enhancing effect of shipping box aesthetics ของ Benedikt Schnurr และ Martin Wetzel (2020) มาเล่าให้ฟังกันอย่างง่ายๆ ไม่ต้องกลัวความเป็นวิชาการกันนะคะ ก่อนอื่นต้องเล่าถึงที่มาที่ไปของความสำคัญของเจ้ากล่องพัสดุ หากใครเคยเรียนการตลาดมาบ้างเล็กน้อยน่าจะจดจำได้ว่า 1 ใน 4 P หรือส่วนผสมทางการตลาดที่สำคัญมากๆ ไม่แพ้ตัวอื่นเลยนั่นคือ P = Packaging หรือตัวหีบห่อบรรจุภัณฑ์ใช่ไหมคะ แบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ก็ยังยึดถือความสำคัญเรื่องนี้ โดยไม่ได้มองแค่ตัวบรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงตัวกล่องพัสดุที่ใส่ของตอนส่งเสียด้วยซ้ำ จากการสำรวจ Top 50 Global Online Retailer พบว่ากล่องพัสดุประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์นั้นใช้กล่องสีน้ำตาลเรียบๆปกติ อีก 42 […]

งานเสริมและการขายของในช่วง COVID-19

ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เราอาจจำเป็นต้องมีงานเสริมเพื่อเอาตัวรอด ช่วยสร้างความมั่นคง หรือหาทางหนีทีไล่ไว้เผื่อฉุกเฉิน คงเคยได้ยินกันบ้างว่าคนนั้นคนนี้ขายของจนร่ำรวยในช่วง COVID-19 พลิกวิกฤตมาเป็นโอกาส แต่เราอาจจะไม่ต้องฝันไปถึงขั้นนั้น เพราะในช่วงเวลาแบบนี้ การประคับประคองตัวเอง เอาตัวรอดไปได้โดยที่ยังมีสติสตัง กำลังใจและรอยยิ้มอยู่ก็เป็นอะไรที่ดีมากๆ แล้ว ทีม UNBOX ได้มีโอกาสรู้จักและเรียนรู้จากคนที่ทำงานหารายได้เสริมหรือตั้งธุรกิจในช่วง COVID-19 เช่นนี้ ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวอย่างอาชีพที่เราคัดมาให้ลองดูกัน เผื่อจะช่วยจุดประกายให้เริ่มทำงานสร้างรายได้เพิ่มเติมกันครับ อาชีพจากความถนัดส่วนบุคคล สำหรับผู้ที่ปกติทำงานประจำอยู่แล้ว หากมีเวลาว่างมากขึ้น อาจเลือกทำงานฟรีแลนซ์เสริมได้ ซึ่งเราสามารถหางานเหล่านี้ได้ไม่ยากจาก กลุ่ม Facebook Group เกี่ยวกับงานอิสระ หรือเข้าไปสมัครเป็นฟรีแลนซ์บน www.fastwork.co ซึ่ง อาจเป็นงานฝีมือ งานด้านภาษา เขียนหนังสือหรือนิยาย ไปจนถึงงานง่ายๆ ที่ทำงานได้ผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ยุ่งยาก เช่น จัดหน้ากระดาษ ถอดเสียงเทปเป็นตัวอักษร ก็เป็นอีกทางในการสร้างรายได้ครับ ถ้าเรามีประสบการณ์ มี Skills ที่เรียนรู้มาจากความสนใจส่วนตัวหรือจากการทำงานหลัก เลือกเป็นติวเตอร์ก็เป็นเรื่องดี จะได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ของเราให้เป็นประโยชน์กับคนทั่วๆ ไป อาจทำในรูปแบบช่อง YouTube เพื่อแนะนำเทคนิคทั่วไป และรับเงินจากแพลตฟอร์มในกรณีที่ยอดวิวถึงตามที่กำหนด หรือจัดเป็นคลาสสอน คอร์สพิเศษที่ต้องสมัครเรียนเป็นงานสอนออนไลน์จริงจัง เราก็เข้าไปสอนบนแพลตฟอร์มที่รองรับงานสอนออนไลน์อย่าง […]

Instagram Filter ฟีเจอร์น่าสนใจสำหรับใช้โปรโมตแบรนด์

กระแสการสร้าง Instagram Stories (IG Stories) ทำให้ฟิลเตอร์ของ Instagram ที่ใช้ตกแต่งวีดีโอกลายเป็นกระแสตามไปด้วย ซึ่งตัวแพลตฟอร์มก็เพิ่มลูกเล่นให้กับฟีเจอร์นี้โดยอนุญาตให้คนทั่วไปหรือแบรนด์สร้างฟิลเตอร์ใช้เองและแชร์ฟิลเตอร์นี้ให้คนอื่นๆ ใช้ต่อได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากสังคมออนไลน์ในการแบ่งปันประสบการณ์ ความสนุก และความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างดี จากงานรวบรวมของ Sproutsocial เปิดเผยว่า IG Stories มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 500 ล้าน Accounts ในทุกทุกวัน มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ใช้ Instagram เปิดดู Stories ทำให้ Platform นี้กลายเป็นช่องทางหนึ่งที่มี Traffic สูงบนโลกดิจิทัล และถูกบรรจุลงในแผนการตลาดดิจิทัลของหลายธุรกิจและแบรนด์ทั่วโลก หนึ่งใน Highlight ของเจ้า IG Stories ก็คือ Filter (ฟิลเตอร์) นั่นคือ ตอนนี้ฟิลเตอร์ไม่เพียงแต่เปลี่ยนสีหรือโทนภาพแบบฟิลเตอร์สำหรับภาพนิ่งหรือวีดีโอใน Instagram เท่านั้น ยังมีฟิลเตอร์แบบ Augmented Reality (AR) เป็นฟีเจอร์หนึ่งที่นิยมกันใน Instagram อีกด้วย เพราะฟิลเตอร์ […]

วิธีเตรียมธุรกิจให้พร้อมรับมือการ Lockdown

วิธีการเตรียมรับมือเหล่านี้ ไม่จำกัดแค่กับตอนที่อาจเกิดล็อกดาวน์ขึ้น แต่เป็นการคิดเผื่อไว้หากเกิดวิกฤตต่างๆ ที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมหรือวิถีชีวิตของผู้คน วิกฤตการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ที่แน่ๆ ไม่ใช่ครั้งแรกและจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ลองศึกษากันดูครับ ตรวจสอบและปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจตัวเองแต่เนิ่นๆ จากการล็อกดาวน์ครั้งที่แล้ว ธุรกิจที่ถึงขั้นต้องสูญเสียกิจการก็เพราะขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินสดมาใช้ประคองธุรกิจในช่วงที่กำไรน้อยหรือไม่มีเลย ส่วนหนึ่งเพราะบางกิจการตั้งแต่ก่อนช่วงโควิดก็แบกความเสี่ยงไว้มากอยู่แล้ว เช่น มีรายจ่ายสูงเกินไป ถือเงินสดไว้น้อย คือทนอยู่ในสภาพที่ไม่มีกำไรไม่ได้เลย ธุรกิจจึงควรเช็คสภาพคล่องของตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก สังเกตรายรับรายจ่ายและลองคิดแผนไว้ว่าเมื่อธุรกิจของเขาต้องเข้าโหมดประหยัด เริ่มคาดเข็มขัดจะเป็นอย่างไร บางธุรกิจอาจปิดบางสาขาชั่วคราวหรือลดประเภทสินค้าลงเพื่อประหยัดต้นทุน ทำความเข้าใจกับพนักงานหากต้องมีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ หรือลดคุณภาพชีวิตลงเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้ การมีแผนเตรียมปรับตัวไว้เช่นนี้ทำให้ธุรกิจพร้อมจะทำงานต่อได้แทบจะในทันทีเมื่อเกิดล็อกดาวน์ขึ้นมา นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการหาทางหนีทีไล่เตรียมไว้สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินกิจการ เช่น เงินทุน (เราสามารถประนีประนอมหนี้ได้เท่าไหร่เมื่อเกิดวิกฤต), วัตถุดิบ (ถ้าวัตถุดิบเจ้าประจำเกิดหยุดกิจการ เราจะใช้เจ้าไหนแทน) เป็นต้น หรืออาจถึงขั้นสร้างธุรกิจเสริม เพื่อโยกทรัพยากรที่ค้างอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ มีรายได้มาจุนเจือธุรกิจเดิมที่ไม่สามารถเปิดบริการได้เต็มรูปแบบในช่วงเวลาที่ผิดปกติ (ร้านอาหาร Baan Dusit Thani ในเครือโรงแรมดุสิตธานีที่หันมาทำอาหารตามสั่งเดลิเวอรี่ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ณ ตอนนั้น) เตรียมปรับสภาพธุรกิจให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนช่วงล็อกดาวน์ ถ้าผู้คนต้องลดการเดินทางลง บริษัทขยับพนักงานไป Work From Home หรือมหาวิทยาลัยก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นเรียนผ่าน VDO Call แทน […]