ปรากฏการณ์ Clubhouse บอกอะไรเรา

Social Media Platform ที่มาแรงที่สุดในสัปดาห์นี้หนีไม่พ้น Application Clubhouse ซึ่งสามารถอธิบายอย่างง่ายได้ว่าเป็น Application ที่ผู้คนสามารถสื่อสารกันด้วยเสียงในกลุ่มตั้งแต่จำนวนน้อยๆ ไปจนถึงจำนวนสูงสุดที่ 6,000 คนต่อ 1 หัวข้อสนทนา โดยจุดเด่นของ Clubhouse นั่นคือผู้ที่สามารถเช้าใช้งานได้ต้องถูกเชิญเท่านั้น (Invited only) แต่ยังมีข้อเสียคือ Application ดังกล่าวนั้นยังใช้ได้ในระบบ iOS เท่านั้น ดังนั้นสำหรับผู้ใช้ Android ตอนนี้อาจจะต้องรอกันไปก่อนสักระยะนะคะ 😊

สำหรับประเด็นการสนทนาใน Clubhouse นั้นสามารถจะเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่ด้านสาระความรู้จนไปถึงด้านความบันเทิง (หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นห้องตลกๆ ที่เน้นความไร้สาระ) โดยภายใน 1 ห้องนั้นจะประกอบไปด้วยผู้เข้าร่วม 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1. Moderator คือผู้สร้างห้องและผู้จัดการ จึงหน้าที่ในการจัดการ ควบคุมดูแลบรรยากาศการพูดคุยให้เป็นไปตามเป้าหมายของการสร้างห้องมากที่สุด

2. Speaker หรือผู้พูด โดย Moderator หรือผู้สร้างห้องนั้นจะเป็นผู้พูดโดยอัตโนมัติ แต่ผู้สร้างก็ยังสามารถเชิญบุคคลอื่นให้มาร่วมเป็น Speaker ได้ โดย Speaker มีสิทธิที่จะเลือกเปิดปิดไมค์ของตนเองได้ทุกเมื่อ และนอกจากนั้นผู้ฟังโดยทั่วไป ก็สามารถยกมือเข้าร่วมเป็น Speaker ได้เช่นเดียวกัน

3. Listener คือผู้ฟัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ฟังที่ทำหน้าที่ฟังอย่างเดียว แต่สามารถที่จะยกมือขอร่วมสนทนาได้ทุกเมื่อ

ซึ่งกฎในการอยู่ร่วมกันของ Clubhouse นี้ ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในหน้า Community ของทางเจ้าของ Application โดยมีกฎข้อสำคัญอยู่ว่าการอยู่ใน Clubhouse นั้นต้องใช้ชื่อจริง และห้ามบันทึก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่เนื้อหาจาก Clubhouse โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นแล้วอีกหนึ่งเสน่ห์ของความตื่นเต้นต่อ Clubhouse คือผู้ฟังทุกคนจะรู้ดีว่าการสนทนาใดๆก็ตามนั้นไม่สามารถฟังซ้ำได้ และเหล่าดาราคนดังก็สามารถมาร่วมจอยบทสนทนากันได้ทุกเมื่อ แม้ว่าในความเป็นจริงของชีวิตนั้นพวกเขาอาจจะไม่เคยได้ร่วมงานกันก็ตาม

จากปรากฏการณ์การแห่เข้า Clubhouse ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ สามารถวิเคราะห์ประเด็นทางพฤติกรรมผู้บริโภคและการตลาดทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้

1. คนไทยยัง FOMO (Fear of Missing Out) คือมีความกลัวในการพลาดเทรนด์สำคัญไป และความ FOMO นี้เองที่ทำให้ตัว Clubhouse นั้นเติบโตอย่างรวดเร็วมาก โดยเริ่มจากการรวมตัวกันของ Content Creator หรือผู้มีชื่อเสียงในวงการต่างๆเริ่มเข้ามาใน Platform โดยถือได้ว่าเป็น Innovator กลุ่มแรก (ซึ่งถ้าในระดับนานาชาติแล้ว ผู้ใช้งานที่มีชื่อเสียงแรกๆอาจได้แก่ Elon Musk, Oprah Winfrey และ Drake เป็นต้น) จากนั้นจึงทำให้เหล่า Followers ของบุคคลเหล่านั้นรู้สึกว่าพลาดไม่ได้ ต้องติดตาม จากนั้นจึงกลายเป็นความรู้สึกในหมู่ Early Adopter ที่ทำให้คนทั่วไปรู้สึกอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าไปมีส่วนร่วมบ้าง

2. ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเหล่า Content Creator และ Influencer ของไทยปรับตัวเร็วมาก ที่สามารถปรับตัวเข้าสู่ Platform และสร้าง Session ต่างๆทั้งแบบสดๆร้อนๆ หรือแบบวางแผนล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี โดยในขณะนี้นั้นหลายๆ Creator สามารถวางแผน และลงตารางประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าได้แล้วว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีหัวข้อการพูดคุยใดบ้าง โดยนอกจาก Influencer สาย IT และ Marketing ที่ได้เข้าสู่ Clubhouse อย่างรวดเร็วแล้ว บุคคลผู้มีอิทธิพลทางการเมืองคนสำคัญอย่าง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ (ไอติม) ก็ยังได้เข้าสู่ Clubhouse อย่างรวดเร็ว และยังกลายเป็นขาประจำที่เห็นได้ในหลายๆห้องด้วย

(ตัวอย่างการปรับตัวเข้าสู่การวางแผนรายการของเหล่า Influencer หรือ Content creator จาก iCreator)

3. การเข้าถึงของ Application ที่รับผู้เข้าร่วมแบบ Invited-only นั้นกลายเป็นดาบสองคม ในด้านดีคือทำให้ผู้เข้าร่วมนั้นได้รับการการันตีในด้านตัวตนจริงและความสนใจ แต่ข้อเสียคืออาจทำให้วงสนทนานั้นถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มคนเดิมๆ จนไปถึงการได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเลยก็มี

4. Brand ต้องไวถึงเป็นผู้ชนะ นับตั้งแต่ช่วงที่ Clubhouse เริ่มได้รับความนิยมในช่วงแรก แบรนด์ที่เข้ามาทำการตลาดได้อย่างรวดเร็วเลยคือ บาร์บีคิวพลาซ่า ที่สามารถเปิด Official Account ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงแรก และได้รับกระแสตอบรับในวงกว้าง ดังนั้นองค์กรในสมัยนี้นั้นหากต้องรอการ Approve โปรเจคทางการตลาดหลายขั้นตอนเป็นเวลานานมากเกินไป อาจเสียโอกาสการช่วงชิงพื้นที่สื่อไปเสียแล้ว

(ก้อน จากบาร์บีคิวพลาซ่า เข้าสู่ Clubhouse อย่างรวดเร็ว ด้วยการเชิญชวนจากคุณบุ๋ม-บุญย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ผู้บริหารบาร์บีคิวพลาซ่า)

5. ผู้บริโภคไทยมีความสามารถในการปรับตัวสูง เห็นได้จาก Content มีความหลากหลายเช่นห้องความรู้ด้าน Tech, การตลาด, ห้องเอาสนุก เอาขำ ห้องไร้สาระระบายอารมณ์ หรือแม้แต่การใช้ในการรู้จักคนใหม่ ไปถึงขั้น Speed Dating ก็มี

6. เนื่องด้วย Clubhouse นั้นใช้การสื่อสารด้วยเสียงเป็นหลัก และต้องใช้ตัวตนจริงในการสื่อสาร จึงเป็นโอกาสอันดีของการทำ Personal Branding ในฐานะ Expert ของวงการต่างๆ โดยถึงแม้แบรนด์อาจจะไม่สามารถพูดคุยได้โดยตรงได้ แต่สามารถใช้ Spokesperson ในนามองค์กร มาร่วมเป็นหนึ่งในการพูดคุย และตอกย้ำถึงภาพลักษณ์ว่าแบรนด์นั้นมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจริงได้

สิ่งที่น่าจับตารอดูต่อไปคือ จากการเติบโตอันรวดเร็วของ Clubhouse ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยในเดือนกุมพันธ์นี้นั้นยอดการดาวน์โหลดพุ่งสูงถึงมากกว่า 10 ล้านครั้งด้วยกัน จะวางแผนกลยุทธในอนาคตต่อไปอย่างไร จะเปิดโอกาสให้ชาว Android หรือจะมีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นใดให้แมสขึ้นหรือไม่ ต้องรอติดตามกันต่อไปค่ะ

Contributor

Jinsiree Palakawongsa Na Ayudhya

Full-time lecturer at a school of communication arts and freelance event planner. Living with a strong passion for experiential and event marketing. Her happiness is all about making event audiences smile and playing with her cats.

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Karn Triamsiriworakul

ใช้ยังไงให้ปังกับ Instagram Story เครื่องมือดีดีของการสร้างแบรนด์

Instagram Story หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ไอจี สตอรี่ (IG Story)  ถือเป็นฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตั้งแต่เริ่มเปิดตัวมาในปี 2016 โดยในปัจจุบันนี้

Read More »
blog
Unbox Team

ชวนส่อง Digital Gadget ใหม่ๆ ที่กำลังมาในปี 2022

แนวโน้มการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในปี 2022 อาจจะยังส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอยู่ ซึ่งหมายความว่าเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมและธุรกิจต่างๆ ในด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการใช้งานให้ตรงกับรูปแบบของไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันมากที่สุด ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นได้ตัวอย่างจากองค์กรหรือบุคคลที่ต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องมองในมุมที่เปิดกว้าง คิดเชิงนวัตกรรม

Read More »
blog
Nisara Sittatikarnvech

LALISA’S EFFECT ปรากฏการณ์ลิซ่าที่เขย่าเทรนด์โลกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ!

“Say Lalisa love me, Lalisa love me”ประโยคนี้ดังขึ้นเมื่อไร เราเชื่อว่าหลายคนในตอนนี้คงอดใจไม่ไหว ต้องลุกขึ้นมาออกลีลา ทำสัญลักษณ์นิ้วพร้อมกับโยกตามแรงๆ

Read More »
Comodo SSL