The Social Selling System: การผันผู้ติดตามให้กลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์

(บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Kim Walsh Phillips, Founder of Powerful Professionals, เมษายน 2020)

วันนี้จะโพสต์อะไรอีกดีเนี่ย?

ถ้าเคยต้องสร้าง Content บนโลกโซเชียล ความคิดนี้ต้องผุดขึ้นมาในหัวไม่ต่ำกว่าพันครั้งแน่ๆ แบรนด์ในปัจจุบันนอกจากจะต้องสร้าง Engagement ให้คนมากด Like, Comment และ Share โพสต์จากเพจแล้ว ยังต้องสามารถเปลี่ยนยอดตัวเลขออนไลน์เหล่านั้นให้กลายมาเป็นเม็ดเงินให้กับแบรนด์ให้ได้

การผันผู้ติดตามบนโลก Social ให้กลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด แบรนด์แค่ต้องสร้างคอนเทนต์ที่สะท้อนถึง You, Me and Us โดยที่ You คือผู้ติดตาม Me คือตัวแบรนด์ และ Us แทนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค ฟังดูเหมือนชื่อหนังรักโรแมนติก แต่ในความเป็นจริงแล้วมันคือสูตรการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคผ่านการหาจุดเชื่อมความสนใจ ที่จะช่วยผันผู้ติดตามให้กลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้นั่นเอง

หัวใจสำคัญของสูตรนี้คือการวางโครงสร้าง Content ให้มีเนื้อหาการสร้างความไว้วางใจและ Engagement เป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ส่วนอีกร้อยละ 15 คือเนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิด Call-to-Action จากฝั่งผู้ติดตาม หลักการง่ายๆ คือตัวแบรนด์ต้องค่อย ๆ ปูเรื่องราวและกล่อมผู้บริโภคให้หันมาสนใจแบรนด์ ก่อนที่จะนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ วิธีการที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์นี้คือการสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์ที่มัดใจผู้บริโภค มีจุดเชื่อมความสนใจที่ตรงกัน จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความผูกพันกับแบรนด์ขึ้นมา

All About Me คอนเทนต์เรื่องราวของแบรนด์

1. Content เกี่ยวกับเบื้องหลังการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มเขียนหนังสือ ตอนวางโครงเนื้อหาบทเรียน หรือตอนกำลังเตรียมพร้อมเข้าประชุม เผยให้เห็นถึงเส้นทางการทำงานเพื่อให้ผู้ติดตามรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์นั้น ๆ

2. เรื่องเล่าความสำเร็จของลูกค้าหรือผลลัพธ์ที่ได้มา โดยโยงเข้ากับข้อมูลที่ให้ประโยชน์กับผู้ติดตาม ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ใครที่เป็นทาสแมวคงต้องเคยได้ยินชื่อแบรนด์ เนื้อหมูแดดเดียว ตรา อีเหมียวปีนตู้กับข้าว ที่โด่งดังเป็นพลุแตกมียอดผู้ติดตามเกินหลักหมื่นภายในเวลาไม่ถึงเดือนที่เริ่มเปิดเพจ แค่ชื่อแบรนด์ก็มัดใจผู้บริโภคทำเอายอดจองหมูแดดเดียวถล่มทลายตากหมูกันไม่ทัน และไม่ใช่แค่นั้น แอดมินเพจยังใช้วิธีโพสต์ภาพแมวของลูกค้าเวลาได้รับสินค้า ทำให้ผู้ติดตามกลายมามีส่วนร่วมในการสร้าง Content คอยตามดูกันว่าเมื่อไรรูปแมวของตัวเองจะได้ขึ้นหน้าเพจ เป็นกลยุทธ์เพิ่ม Engagement ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

3. ประโยคคำพูดสั้นๆ จากคนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ที่เคยตีพิมพ์ลงใน Blog จาก Podcast จากโพสต์เก่าๆ หรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเขียนขึ้นมาเพื่อการนี้ วางตัวผู้แทนแบรนด์ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงนั้นๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

4. รูปภาพของเจ้าของแบรนด์หรือคนในองค์กรระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เป็นจำเป็นต้องดูเป็นทางการเสมอไป ภาพในลักษณะนี้ช่วยให้แบรนด์ดูมีชีวิตและจับต้องได้มากขึ้น ทำให้ผู้ติดตามรู้สึกผูกพันกับแบรนด์เหมือนเพื่อนคนหนึ่ง

All About You คอนเทนต์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค

(ขอบคุณรูปภาพจาก Facebook เนื้อหมูแดดเดียว ตรา อีเหมียวปีนตู้กับข้าว)

5. ลองโยนคำถามที่ฉุกให้ผู้บริโภคได้คิด เช่น “หากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงและทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ คุณจะทำสิ่งใดเป็นสิ่งแรก” เป็นต้น โพสต์แบบนี้ช่วยสร้าง engagement และมักจะเพิ่มยอดคอมเมนต์ได้มากกว่าโพสต์ทั่ว ๆ ไปที่เกี่ยวกับแบรนด์โดยตรง

6. แนะนำเคล็ดลับและกลยุทธ์ที่ผู้บริโภคสามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่ UNBOX BKK ของเรานำมาเสนอให้กับทุกคนอยู่เรื่อย ๆ เป็นต้น

All About Us คอนเทนต์ที่มีจุดเชื่อมโยงร่วมกัน

7. ทุก ๆ สัปดาห์ คอยอัพเดทเรื่องราวของแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้รับรู้ อาจจะเริ่มจากการแชร์เคล็ดลับหรือกลยุทธ์ แล้วแปะลิงก์สัมมนาออนไลน์หรือผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์แนะนำให้ผู้บริโภคได้เข้าไปดู แสดงถึงความตั้งใจดีในการแบ่งปันประโยชน์ ข่าวสารที่มีสาระต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภค

8. สุดท้าย คือการกระตุ้นให้เกิด Call-to-Action ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารเกี่ยวกับโปรโมชั่นต่าง ๆ หรือการจองสิทธิ์เพื่อเข้าฟังการเสวนาพิเศษ เป็นต้น

วางโครงสร้าง Content บน Social Media ของแบรนด์ ให้ครอบคลุมทั้ง 8 ประเภทนี้ หมุนเวียน เปลี่ยนโพสต์ สร้าง Engagement และความผูกพันกับแบรนด์เพื่อนำไปสู่การขาย ทำให้ผู้ติดตามบนโลกออนไลน์กลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้อย่างแนบเนียนและได้ผลจริง

Reference:
www.entrepreneur.com/article/349979

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

Cognitive Dissonance กับความวุ่นวายใจในการซื้อของผู้บริโภค

เคยไหมที่เวลาซื้อของอะไรสักชิ้นที่ดูจะไม่จำเป็นเลย แต่กลับหาเหตุผลให้ตัวเองต้องซื้อให้ได้อย่างน่าประหลาดเคยไหมที่หลังซื้อสินค้าราคาแพงชิ้นหนึ่งไป แล้วกลับเจอรุ่นที่เหมือนจะดีกว่า และถูกกว่า ถึงแม้จะเสียดาย แต่ก็ได้แต่บอกตัวเองว่าที่ซื้อไปนั่นดีแล้ว พฤติกรรมทางจิตวิทยาเหล่านี้เรียกว่า Cognitive Dissonance แปลเป็นภาษาไทยได้อย่างตรงตัวว่า

Read More »
Uncategorized
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

รวม Online Platform สร้าง Artwork สวยง่ายทันใจ ไม่ต้องใช้โปรแกรมซับซ้อน

ในยุคนี้จะบอก Content อะไรๆก็ต้องใช้ภาพประกอบดึงดูดไปเสียหมด แม้แต่ประกาศองค์กรง่ายๆหากอยากทำให้พนักงานจดจำนั้น การประกาศเป็นโปสเตอร์สวยๆสักชิ้น อาจจะทำให้คนสนใจและ Save เก็บไปได้ง่ายมากกว่าการประกาศในรูปแบบข้อความ แต่ปัญหาคือทุกคนไม่ได้เก่ง Adobe

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

เราเป็น Content Creator (ผู้สร้าง Content) ที่ดี หรือเปล่า?

Content ของเราดีแล้วหรือยัง? เชื่อว่าเป็นคำถามที่นักสร้าง Content หลายท่านต้องเคยถามตัวเองบ้าง และพากันสงสัยว่าจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ชี้วัดของการเป็น Content Creator ที่ดี พวกเราชาว

Read More »
Comodo SSL