องค์ประกอบที่ทำให้ Netflix เป็นแพลตฟอร์มวีดีโอสตรีมมิ่งอันดับ 1

Netflix เริ่มต้นมาจากธุรกิจการให้เช่าเทปวีดีโอและซีดีภาพยนตร์จัดส่งและรับคืนทางไปรษณีย์ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1997 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจกลายเป็นแพลตฟอร์มวีดีโอสตรีมมิ่งเมื่อปีค.ศ. 2011 และเติบโตเรื่อยมา โดยมีจำนวนผู้ใช้งานเมื่อสิ้นปีค.ศ. 2020 อยู่ที่ 203 ล้านคน มียอดผู้ใช้ในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ปัจจุบันเป็นแพลตฟอร์มวีดีโอสตรีมมิ่งอันดับ 1 ของโลก

ความสำเร็จของ Netflix มาจากกลยุทธในการทำธุรกิจและการทำการตลาด ทั้งใส่ใจผู้ชมและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสิร์ฟ Content ที่ถูกใจให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าติดใจอยู่กับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแห่งนี้

สิ่งต่างๆ ที่ Netflix ทำเพื่อชนะใจลูกค้า

1. การคัดสรรและผลิต Content

Netflix ทั้งซื้อลิขสิทธิ์ซีรี่ส์และภาพยนตร์ยอดนิยมมาออนแอร์บนแพลตฟอร์มและลงทุนสร้าง Content ของตัวเองแบบที่ผู้ชมไม่สามารถหารับชมได้จากแพลตฟอร์มอื่นที่เรียกว่า Netflix Original Series และ Netflix Original Screenplay

การสร้างภาพยนตร์หรือซีรี่ส์ของแต่ละประเทศ ช่วยดึงดูดผู้ชมของประเทศนั้นนั้น ให้เข้ามาใช้บริการ Netflix

(“เคว้ง” ซีรี่ส์ไทยสร้างโดย Netflix ซึ่งแน่นอนว่าตอนที่ออนแอร์ก็ได้รับความนิยมจนขึ้นอันดับ 1 ในประเทศไทย ณ เวลานั้น)

สำหรับเรื่องที่เป็น Original Content ของ Netflix จะได้รับการโปรโมตเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง “เคว้ง” มีการโฆษณาทั้ง Online และ Offline ให้กับผู้ชมชาวไทย และเรื่อง Stranger Things ซีรี่ส์ผลิตโดย Netflix เอง ก็มีจัดกิจกรรมที่โรงภาพยนตร์สกาล่า ซึ่งมีบรรยากาศแบบยุค ’80 คล้ายกับช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง Stranger Things

รวมทั้ง Netflix ยังใส่ใจลงทุนพากษ์เสียงสำหรับภาษาหลักๆ และสำหรับทุกเรื่องจะมีซับไตเติ้ลของทุกภาษา เพื่อให้คนดูทุกคนสามารถเข้าถึงทุก Content บน Netflix ได้อย่างแน่นอน ไม่มีความหงุดหงิดว่าไม่มีซับไตเติ้ลหรือต้องอ่านซับไตเติ้ลภาษาที่ตัวเองไม่ถนัด

2. เทคโนโลยี
Netflix จริงจังกับเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีของพวกเขามาก จนถึงกับมีเว็บไซต์ https://netflixtechblog.com/ ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จทางเทคโนโลยีของพวกเขา และบอกเล่าเรื่องที่พวกเขากำลังให้ความสนใจอยู่ เทคโนโลยีหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงกันมากของ Netflix ก็คือการทำ Personalize หรือการคัดสรร Content เฉพาะบุคคล ที่ทำให้พวกเขาครองใจผู้ชมได้สำเร็จ

การทำ Personalize นี้อาศัยการทำ Machine Learning ของ AI (Artificial Intelligence) ซึ่งศึกษาพฤติกรรมของผู้ชม หลังจากนั้นก็จะจัดเสิร์ฟ Content ซึ่งผู้ชมน่าจะชอบมานำเสนอในรูปแบบที่ดึงดูดสายตาที่สุด โดยการเสิร์ฟ Content นี้ไม่ได้จำกัดแค่ว่า คนชอบหนังสยองขวัญ ก็จะได้รับแต่ Content แนะนำแนวสยองขวัญ เพราะ Netflix จะพยายามหา Content รูปแบบอื่นๆ มานำเสนอด้วย ซึ่งหลายครั้งแม้แต่ผู้ชมเองยังไม่รู้เลยว่าเรื่องพวกนี้อยู่ความสนใจของตัวเอง แต่ก็คลิกเข้าไปดู

การนำเสนอ Content ของ Netflix อยู่ในรูปแบบของ Landing Card หรือหน้าปก ซึ่งผู้ชมจะเห็นหน้าปกจำนวนมากบนหน้าจอจาก Content จำนวนมหาศาลซึ่งมีบน Netflix แต่เบื้องหลังของหน้าปกแต่ละภาพล้วนผ่านการทำ A/B Testing โดย AI มาแล้ว ทดสอบหน้าปกแต่ละแบบกับผู้ชมแต่ละช่วงอายุและกลุ่มพฤติกรรม เพื่อให้ได้หน้าปกที่จับสายตาของผู้ชมแต่ละคนมากที่สุด

(ซีรี่ส์และภาพยนตร์หนึ่งเรื่องมีหลายหน้าปก และผู้ชมแต่ละคนจะได้รับภาพหน้าปกไม่เหมือนกัน แล้วแต่ AI วิเคราะห์ว่าหน้าปกไหนน่าจะดึงดูดความสนใจจากเราได้ดีที่สุด)

(ภาพยนตร์ Good Will Hunting สำหรับผู้ชมที่ชอบภาพยนตร์โรแมนติก จะได้รับหน้าปกที่เป็นฉากโรแมนติกจากในเรื่อง และสำหรับผู้ชมที่ชอบภาพยนตร์แนวขำขัน จะได้รับหน้าปกที่มี Robin Williams ซึ่งเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงจากการเล่นภาพยนตร์แนวขำขัน)
(AI รู้ถึงขั้นว่าเราชอบนักแสดงคนไหน และจะหาหน้าปกที่มีนักแสดงคนนั้นมาให้)

นอกจากนี้หน้าปกซีรี่ส์และภาพยนตร์ยังเปลี่ยนไปตามเวลาและปัจจัยอื่นๆ ได้ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสที่ผู้ชมจะให้โอกาสลองคลิกทุก Content ที่ AI จัดมาให้ และค้นพบอะไรใหม่ๆ บน Netflix ไปเรื่อยๆ

3. Social Media

(Twitter ของ Netflix ประเทศไทยมียอดผู้ติดตามสูงถึง 1 ล้านคน และ Instagram ของ Netflix ประเทศไทย มียอดผู้ติดตามสูงถึง 2 แสนคน)

Netflix มี Social Media ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม และแยกบัญชีสำหรับแต่ละประเทศด้วย ทีมสร้าง Social Media Content ของแต่ละประเทศจะดูแลและโฆษณา Netflix ในภาษาและรูปแบบที่เป็นกันเองกับคนประเทศนั้นๆ หัวใจหนึ่งที่ทำผู้คนชื่นชอบ Netflix คือความสนุก ซึ่ง Netflix ก็แสดงบุคลิกเช่นนั้นออกมาผ่าน Social Media ของพวกเขา โดยทีมงานจะคอยเอาฉากหรือตัวละครซึ่งออนแอร์บน Netflix มาปล่อยมุก และสร้าง Meme อย่างสม่ำเสมอ สร้างความสนุกสนานที่ผู้คนอยากจะแชร์ต่อให้กับคนรอบข้าง เพิ่มการกระจาย Social Media Content และเพิ่มโอกาสผู้คนจะได้รับสาสน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์บน Netflix

(Content สร้างความเฮฮาตามกระแสและเทศกาลโดย Netflix)

4. องค์ประกอบอื่นๆ
จากการสำรวจความเห็นของผู้ใช้บริการ Netflix พบว่าส่วนใหญ่ชื่นชอบที่มีการจัดหมวดหมู่ Content และสามารถตั้งโปรไฟล์เพื่อจำกัดการรับชมสำหรับเด็กได้ ทำให้สะดวกต่อการส่ง Netflix ให้เด็กดูเพื่อฆ่าเวลา อีกอย่างก็คือซีรี่ส์บน Netflix มักจะลงตั้งแต่ตอนแรกถึงตอนจบในครั้งเดียว ทำให้ผู้ชมสามารถรับชมอย่างต่อเนื่องรวดเดียวจบ ซึ่งก็ทำเอาหลายคนไม่ได้นอนกันมานักต่อนัก

ค่าบริการ Netflix รายเดือน (ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2564)

ค่าบริการ Netflix แบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน จากราคาตั้งแต่ 99-419 บาท ต่อเดือน แตกต่างกันที่

อุปกรณ์ที่อนุญาตให้เข้ารับชม Netflix ได้: แบบ 99 บาท จะรับชมได้บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเท่านั้น
จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเข้ารับชมได้พร้อมกัน: Netflix 1 บัญชี สามารถถูกแบ่งออกเป็นโปรไฟล์ผู้ใช้ได้ 1, 2, 4 โปรไฟล์ตามแบบที่เลือก จำนวนโปรไฟล์แสดงจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเข้าใช้บัญชี Netflix นี้ได้พร้อมกัน ดังนั้น Netflix บัญชีเดียวจึงนำไปแบ่งกันรับชมในหมู่เพื่อนและญาติพี่น้องได้ โดยแต่ละโปรไฟล์เปิดรับชมรายการได้ตามใจตัวเอง และมี Algorithm ที่ติดตามการรับชมของแต่ละโปรไฟล์เพื่อจัดเสิร์ฟ Content ที่น่าจะถูกใจให้กับแต่ละโปรไฟล์ด้วย
ความชัดของวีดีโอที่ได้รับ: รับชมวีดีโอความชัดระดับ HD ได้จากแบบ 349 บาท ขึ้นไป และความชัดระดับ Ultra HD ที่แบบ 419 บาทเท่านั้น

Content บน Netflix ที่ Trending ในประเทศไทย เดือนมีนาคม 2021

ซีรี่ส์ที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ใน Netflix ประเทศไทยเป็นของเรื่อง “Vincenzo” ซีรี่ส์สัญชาติเกาหลีที่มีแม่เหล็กเป็นซงจุนกิ นักแสดงชาวเกาหลีที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดี ตามมาด้วย Love Alarm และ Sisypmus ซึ่งล้วนแต่เป็นซีรี่ส์เกาหลีทั้งสิ้น

ภาพยนตร์ยอดนิยมอันดับ 1 เป็นเรื่อง “อ้ายคนหล่อลวง” ภาพยนตร์ไทยที่พึ่งออกจากโรงภาพยนตร์ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็เข้า Netflix อย่างรวดเร็วและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีโดยผู้ชม ตามด้วยภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จากฝั่งตะวันตกซึ่งพึ่งเข้า Netflix ได้แก่ In the Heart of the Sea และ Aquaman

Contributor

Karn Triamsiriworakul

Learned about reasoning from the school of law but landed job in marketing field to work toward his interest in art and psychology.

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

เมื่อการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ เหนื่อยล้ากว่าที่คิด

หลายๆ ออฟฟิศเริ่มให้พนักงานกลับไปทำงานปกติ หลังจาก Work from Home กันมาติดต่อกันหลายเดือน แต่น่าแปลกใจว่าหลายคนกลับมีอาการเหนื่อยล้าเมื่อต้องกลับมาทำงาน และไม่ได้โหยหาการกลับเข้าออฟฟิศมาเจอเพื่อนร่วมงานอย่างที่คิดทีมงาน UNBOX

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

ท่องเที่ยวไทย ก่อน-หลัง ยุคโควิดเป็นอย่างไร

การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญมากๆของประเทศไทย โดยในปี 2019 ก่อน COVID-19 โจมตีทั่วโลก ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกกว่า 32 ล้านคน เป็นเม็ดเงินในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกว่า

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

เทรนด์กัญชง-กัญชามาแล้ว เอาไปทำธุรกิจอะไรกันบ้าง?

กัญชง-กัญชามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีมาเป็นเวลากว่า 50 ปี โดยเฉพาะกัญชาที่ถูกขนานนามว่าเป็น “พืชเสพติด” ก่อความมึนเมาและให้ผลเสียต่อร่างกาย แต่ในช่วง 1-2 ปีมานี้ จู่ๆ

Read More »
Comodo SSL