คาดการณ์อนาคตของ Facebook ในปี 2021 กับ Dennis Yu

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดยคุณ Dennis Yu ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Blitz Metrics เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ Digital Marketer วันที่ 14 มกราคม 2021)

มาดูการคาดการณ์ของคุณ Dennis Yu กัน

ในปี 2021 Facebook จะต้องเจอกับจุดจบที่ไม่ต่างจากบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ให้บริการระบบโทรศัพท์บ้านที่เก่าแก่อย่าง Ma Bell (โดยที่ Instagram และ WhatsApp จะแยกตัวออกจาก Facebook อย่างสิ้นเชิง) ซึ่งอาจทำให้เหล่าผู้ซื้อโฆษณาไม่ปลื้มกับสิ่งนี้ และส่งผลให้พวกเขาหันไปซบอกแพลตฟอร์มอย่าง TikTok, Snapchat, YouTube หรือคนดีคนเดิมอย่าง SEO (Search Engine Optimization)

ถึงเวลาที่นักการตลาดที่ฉลาดๆ จะงัดเอากลยุทธ์การสื่อสารด้วยคอนเทนต์แบบนำของเก่ามาเล่าใหม่ให้น่าฟังขึ้น ด้วยวิธีการอันชาญฉลาดเพียงไม่กี่วิธี ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังว่ามีวิธีใดบ้าง

Facebook เสียค่าธรรมเนียมทางกฎหมายไปกว่า 10,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 แต่นั่นยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัดส่วนรายได้จากค่าโฆษณากว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐที่ Facebook ได้ จากรายได้สุทธิกว่า 18,400 ล้านเหรียญสหรัฐของ Facebook ซึ่งยังถือว่า Facebook ยังคงแข็งแกร่ง ไร้เทียมทาน และหาตัวจับยาก

แต่ในตอนนี้ไม่ใช่อีกต่อไป

ด้วยความบกพร่องในการจัดการกับปัญหาที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณในการตรวจสอบดูแลเนื้อหาบน Facebook ทำให้ Facebook เองถูกรัฐบาลสหรัฐปฏิบัติเยี่ยงสื่อ (อย่างสำนักพิมพ์ The New York Times) ราวกับ Facebook ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยี ที่คนสามารถใช้พื้นที่ในการสร้างและบริหารจัดการคอนเทนต์เพื่อสื่อสารต่อสาธารณชนได้ (ลักษณะเหมือนกับ WordPress)

ในปี 2021 ผมว่าทุกอย่างจะล้มไม่เป็นท่า แม่แต่ผู้ที่พูดว่า “ท่านวุฒิสมาชิกครับ Facebook ก็ขายโฆษณานะครับ” เองก็ไม่สามารถทำให้แบรนด์อย่าง Apple ดูแย่ในสายตาประชาชนได้ และก็ไม่ได้ทำให้ Facebook มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นผู้ที่ปกป้องธุรกิจขนาดเล็กแต่อย่างใด ด้าน Sheryl Sandberg ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายปฏิบัติการของ Facebook เองก็ยืนยันว่าองค์กรจะใช้ระบบยิงโฆษณาอัตโนมัติแทนการจ้างคนมาเพื่อให้บริการยิงโฆษณาบน Facebook

นักการตลาดเองก็จะนำคอนเทนต์ที่ใช้สื่อสารบน Facebook มาเล่าใหม่บนช่องทางอื่นๆ ซึ่งโฆษณาวิดีโอสั้นแบบแนวตั้ง หรือ Short-Form Vertical Video ก็ยังคงได้รับความนิยมเช่นเดิม แม้บนแพลตฟอร์ม YouTube เองก็ตาม (Shorts เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอตอนสั้นของ YouTube)

เพื่อพิสูจน์ว่าการคาดคะเนของผมจะเป็นจริง ผมให้ผู้ช่วยบนโลกออนไลน์เปลี่ยนโพสต์บน Facebook ให้เป็นโพสต์บนบล็อก ผลปรากฎว่ามีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นถึง 7,000 คนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยที่ผมไม่ต้องทำอะไรเลย ตอนนี้ในบล็อกของผมมีบทความ 1,488 หน้า

คุณใช้ Google ค้นหาแล้วเจอโพสต์บน Facebook ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? โอกาสที่จะเจอผลการค้นหาด้วย Google บนฟีดข่าวของ Facebook เท่ากับโอกาสที่จะเห็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Honda ขับรถ Toyota นั่นแหละ


(UNBOX นำ Blog มาแชร์ลงใน Facebook Page ตลอด)

เคล็ด (ไม่) ลับเบอร์หนึ่ง: นำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียมาโพสต์บนเว็บไซต์ (และนำคอนเทนต์จากเว็บไซต์มาโพสต์บนโซเชียลมีเดีย)

โลกของการใช้เครื่องมือในการค้นหากับโลกโซเชียลมันเชื่อมถึงกันได้ ดังนั้นเคล็ด (ไม่) ลับเบอร์หนึ่งคือการคัดลอกคอนเทนต์จากโลกหนึ่งมาโพสต์ยังอีกโลกหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้แบบอัตโนมัติด้วยการใช้เครื่องมือเสริมของ WordPress แต่สำหรับผมหัวข้อของบทความเป็นสิ่งที่ผมต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพราะมันมีความสำคัญพอๆ กับตัวบทความเอง

กลยุทธ์นี้ต่างจากการโหนกระแสเทรนด์ที่กำลังมาแรงที่ปรากฎเป็นข่าวบนแพลตฟอร์ม Reddit แล้วนำมาโพสต์บน Facebook หรือขายคอนเทนต์ข่าวนั้นเสียเอง

เพราะมันคือคอนเทนต์ของคุณเอง จึงไม่ต้องกลัวเรื่องการถูกลงโทษเนื่องจากเป็นเนื้อหาซ้ำซ้อน และไม่เกิดปัญหาเว็บไซต์ไม่ถูกนำไปแสดงในหน้าค้นหาของ Google จำไว้ว่าเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ที่ค้นหาผ่าน Google แล้วเจอได้ง่ายจะไม่ถูกคัดลอกไป และเนื้อหาเหล่านั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่โพสต์บนบล็อกและหน้าเว็บ โปรแกรมค้นหาฉลาดพอที่จะเปลี่ยนวิดีโอให้เป็นตัวอักษรได้ (ตัวอย่างเช่นการเพิ่มคำบรรยายอัตโนมัติของ YouTube)

เคล็ด (ไม่) ลับเบอร์สอง: แชร์ข้ามโพสต์ไปยังแพลตฟอร์ม Twitter พื้นที่สาธารณะบนโลกโซเชียลที่ทุกคนมารวมตัวกัน

โดยปกติเมื่อโพสต์บนช่องทางโซเชียลต่างๆ ระบบก็จะโพสต์เนื้อหานั้นๆ บน Twitter โดยอัตโนมัติไปด้วย ผมเองชอบ Instagram มาก เพราะผมสามารถข้ามโพสต์ไปยัง Facebook และ Twitter ในเวลาเดียวกัน และสามารถ Boost Post บน 3 แหล่งนี้ได้เลย!

สาวก Twitter คงหงุดหงิดกับสิ่งนี้ (นักการตลาดไม่เคยทำตามทฤษฎีสักอย่าง ผมรู้) แต่ดูทวีตกว่า 14,000 อันในบัญชีของผมสิ…

เคล็ด (ไม่) ลับเบอร์สาม: แปลงเสียงพูดจากวิดีโอเป็นโพสต์บนบล็อกเลย
ธุรกิจและแบรนด์สามารถถอดเสียงพูดบนเว็บไซต์ rev.com, บริการถอดความอัตโนมัติอย่าง otter.ai ที่ทำงานร่วมกับ Frame, Descript หรือเครื่องมือใดก็ได้ที่ถนัด ส่วนตัวผมชอบ Descript เพราะมีฟีเจอร์อย่าง Overdub ที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขหรือเพิ่มอะไรลงไปในไฟล์เสียงของวิดีโอได้

วิดีโอที่โพสต์ (Social Video) ผ่านทาง Facebook (ไม่ใช่วิดีโอบน Snapchat, YouTube หรือ Instagram) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความหยามใจกับกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐฯ มากเกินไป ทำให้สุดท้าย Facebook ถูกควบคุมดูแลอย่างเข้มข้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ในที่สุด

นักการตลาดที่อ่านเกมส์ออกอย่างเราๆ ก็คงไม่อยากเสี่ยงเอาคอนเทนต์ทุกอย่างลงไปกับ Facebook เพียงแค่ช่องทางเดียว เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น เราอาจเสียสิ่งที่ลงทุนลงแรงไปทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือการนำคอนเทนต์เก่ามาเล่าใหม่ โดยสื่อสารผ่านช่องทางอื่นๆ แทน ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นการใช้เครื่องมือทางการตลาดในการยิงโฆษณาแบบอัตโนมัติมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่คนที่จะประสบความสำเร็จได้จริงๆ คือคนที่ทำโฆษณาคลิปสั้นแบบแนวตั้ง ที่มีการปรับแต่งวิดีโอหลังยิงโฆษณา (VAs edit) การแชร์ข้ามโพสต์ พร้อมการบูสท์โพสต์เพื่อเพิ่มยอดขาย

การโฆษณาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับฝีมือของนักการตลาดอย่างคุณแล้ว การยิง Content ผ่านระบบโฆษณาอัตโนมัติไม่ใช่แค่เพียงการตัดวิดีโอแบบ Long-Form ความยาว 30 นาที (สำหรับอัพโหลดบน YouTube) ให้เป็นวิดีโอ 1 นาที ด้วยอัตราส่วน 4:3 สำหรับโพสต์บน Facebook, วิดีโอลงสตอรี่บน Instagram, Quote Cards บน Twitter หรือแม้แต่บทความบนบล็อกของคุณก็ตาม

ณ ตอนนี้ระบบการยิงโฆษณาอัตโนมัติยังไม่สามารถพาดหัวหรือสร้างเนื้อหาโฆษณาให้คุณได้ ฉะนั้นขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเตรียมตัวกันมากแค่ไหน สำหรับ Facebook ที่จะแยกตัวออกจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ตามคำคาดการณ์ที่ผมได้บอกไว้ และคุณเองก็สามารถใช้เคล็ด (ไม่) ลับที่ผมได้บอก สำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมในอนาคต

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Jinsiree Palakawongsa Na Ayudthaya

UNBOX Your Creativity: วิธีจุดไฟ เมื่อไอเดียสร้างสรรค์หมด

หลายครั้งที่ชาว UNBOX อาจมีอาการไอเดียตื้อตัน คิดงานไม่ออก ยิ่งคิดว่าคิดไม่ออกก็ยิ่งคิดไม่ออก เลยตัดสินใจไปนอนดีกว่า … ถูกต้องแล้วค่ะ😊 ไอเดียตื้อตัน คิดงานไม่ออกนั้นเป็นเรื่องปกติของคนที่ต้องทำงานในสายสื่อสารการตลาดที่ต้องการไอเดียสดใหม่ตลอดเวลาในเวลากันจำกัด

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

ความเปลี่ยนแปลงของแอปฯ จองโต๊ะร้านอาหารในยุค COVID-19

การเข้าคิวเป็นเรื่องธรรมดา แต่การต้องไปนั่งรอเรียกคิวต่างหากที่เป็นเรื่องน่าเบื่อ โดยเฉพาะการจองคิวร้านอาหารที่คนไม่อยากเสียเวลาไปนั่งโมโหหิวอยู่ที่หน้าร้าน แอปพลิเคชั่นซึ่งแก้ปัญหานี้ได้จึงมีที่ยืนในตลาดโลก วันนี้ทีมงาน UNBOX จึงอยากพาทุกคนมาเปิดหูเปิดตาเกี่ยวกับแอปฯ แนวนี้ และการปรับตัวของพวกเขาเมื่อถึงวันที่ประชากรโลกเลิกเข้าคิวและหันมาเก็บตัวอยู่บ้าน ความสำเร็จของแอปฯ

Read More »
Comodo SSL