5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ ทำ Content Marketing

ปี 2020 แน่นอนว่าหลายๆ ธุรกิจให้ความสำคัญกับโลกดิจิทัลมากขึ้น และเริ่มหันมาสนใจการทำ Content Marketing กันมากขึ้น เนื่องจาก Content Marketing นั้นคือการตลาดที่ขายของทางอ้อม โดยธุรกิจต่างๆจะต้องทำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราให้ลูกค้าเป้าหมายเสพอย่างสม่ำเสมอ จบท้ายด้วยการขายของ ซึ่งเนื้อหานั้นก็มีหลายรูปแบบ เช่น ธุรกิจความสวยความงามทำ Blog เกี่ยวกับเรื่องการทานอาหารและออกกำลังกายให้มีรูปร่างดี และจบท้ายด้วยการพูดถึงคอร์สดูดไขมันลดต้นขา หรือธุรกิจเสื้อผ้าใช้นางแบบหน้าเก๋ๆใส่เสื้อผ้าแล้ว Tag แบรนด์ลง Instagram

หลายๆ ครั้งที่ Digital Marketer หรือ Content Marketer ยังมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการทำ Content Marketing ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมทำ Content Marketing มานานแล้วแล้วยังไม่เห็นผลลัพธ์เลย มีอะไรผิดพลาดอยู่หรือเปล่า UNBOX BKK จะอธิบายให้ทราบในบทความนี้นะคะ

1. ทำ Content Marketing สามารถเห็นผลลัพธ์ได้เพียงชั่วข้ามคืน

เคยเห็นโฆษณาที่มีเนื้อหาทำนองนี้ไหมคะ 

“สร้าง Follower 100 คน ภายใน 5 วัน แบบไม่เสียเงินสักบาท”
“ทำคอนเทนต์อย่างไร ให้รวยภายในไม่ถึงเดือน”
“คอนเทนต์แบบไหน สร้างผู้ติดตามได้เร็วภายใน 1 อาทิตย์”

จริงๆแล้วการเริ่มต้นทำ Content ที่การันตีผลลัพธ์ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆนั้น มีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจากผู้บริโภคอย่างเราๆมีเวลาในการใช้ชีวิตเท่าเดิม แต่มีเนื้อหาเข้ามาให้เสพหลายรูปแบบ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ กลุ่มเป้าหมายของเราอาจจะมีเวลาในการเสพ Content ลดลง และอาจไม่ได้ให้ความสนใจกับเนื้อหาจากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเป็นพิเศษ 

ดังนั้นธุรกิจต่างๆจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการทำ Content Marketing และจำเป็นต้องรอคอยกับการเติบโตของ Content ในสื่อของเรา จนมีผู้ติดตาม (Followers, Fans) หรือเป็นที่รู้จักในวงกว้าง บางธุรกิจอาจใช้เวลาเป็นปี บางธุรกิจสามารถเห็นผลใน 6 เดือน ซึ่งทีมงาน UNBOX BKK ไม่แนะนำให้ทุกท่านเร่งการเติบโตของ Content หรือผู้ติดตามโดยใช้วิธีลัด เช่นการซื้อ Instagram Followers แบบผิดกฎหมาย (การปั๊มยอด Likes, Followers) หรือการเอาบล็อกไปโพสต์ตาม Website ต่างๆแบบไม่มีการวางแผน เพราะนอกจากจะทำให้แบรนด์ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือแล้ว สื่อและ Content ของแบรนด์เองอาจจะโดน Followers ตัวจริง Ignore จริงๆก็ได้

ทั้งนี้ หากธุรกิจและแบรนด์ของคุณมีการเติบโตและเป็นที่รู้จักมาได้ระยะหนึ่งแล้ว หลังจากทำ Content Marketing จะเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

2. Click Bait Content จะช่วย Boost ผลลัพธ์ของคุณได้

คำว่า Click Bait Content คือการตั้งชื่อหัวข้อเนื้อหาหรือ Blog ของเราให้มีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กดเข้ามาอ่าน ตัวอย่างเช่น

“ถ้ารู้ว่าทำสิ่งที่แล้วจะผอมลงเร็วขนาดนี้ ทำมานานแล้ว”
“ทำ 3 สิ่งนี้แล้วน้ำหนักลงได้จริงๆ”

ซึ่ง Click Bait Content นั้นอาจจะดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายคลิกเข้ามาใน Blog ก็จริง แต่ระยะเวลาที่ใช้บนหน้า Blog และ Website นั้นกลับตรงกันข้าม เพราะเมื่อคนเข้ามาแล้วเห็นว่าเนื้อหาในนั้นไม่ได้ให้คุณค่าเลย หรือเน้นแต่ขาย ขาย ขาย อย่างเดียว คนก็จะกดปิดหน้าต่าง Website ของเรา ทำให้ Bounce Rate สูงขึ้น และ Average Time on Page ก็จะลดลงตามไปด้วย เหมือนที่มีสำนวนที่ว่ารูปไม่ตรงปกนั่นเอง

[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/04/Content-marketing-myths-scaled.jpg” alt=”content marketing myths” title_text=”content marketing myths” _builder_version=”4.4.4″][/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”4.4.4″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_text_color=”#666666″ text_font_size=”22px” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_text_color=”#333399″ header_2_font_size=”29px”]

3. Organic Content อยู่ในช่วงขาลงแล้ว

ในช่วงนี้นักการตลาดหลายท่านอาจเริ่มมองว่าตอนนี้การทำ Content เป็นขาลงแล้ว โดยเฉพาะการทำ Blog หรือการทำ Organic Content ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครเสพ เพราะกระแสของการทำ Paid Media หรือ Advertising เข้ามาแทรกแซง แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่อยู่ในช่วงขาลงไม่ใช่ Organic Content แต่เป็นเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภค

ปี 2020 เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการ เกือบทุกอย่าง Google จะมีคำตอบให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า การแปลภาษาต่างชาติ การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นไข้หวัด การยื่นภาษี และอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน มันคงจะดีมากถ้ากลุ่มเป้าหมายได้ Search Google แล้วเจอ Content ที่ธุรกิจคุณเป็นคนทำขึ้นมา แล้วกลายมาเป็นลูกค้าของคุณโดยไม่ได้ตั้งใจ ตัวอย่างเช่น นางสาว A Search ว่า “โดนยุงกัดต้องทำอย่างไร” สิ่งที่เธอเจอคือบทความของแบรนด์ B ที่เขียนเกี่ยวกับการใช้สเปรย์ตะไคร้ฉีดกันยุงแบบละเอียด นางสาว A ประทับใจมากจึงตัดสินใจเลือกซื้อสเปรย์นี้และปฏิบัติตามสื่งที่เธอได้อ่านในบทความของแบรนด์ B

 สิ่งที่ธุรกิจและแบรนด์ควรต้องทำคือวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายว่าพวกเขามีความเป็นไปได้ที่จะ Search หาอะไรใน Google แล้วลงมือทำ Content ให้ตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านั้นกันดีกว่า

4. Content ที่สร้างคุณค่า คือการใส่ข้อมูลเข้าไปเยอะๆ

บทความที่มีเนื้อหาเยอะ หรือมี Word Count มากกว่า 3,000 คำ นั้นถือว่าเป็น Quality Content เพราะมีใส่เนื้อหาครบถ้วน ตอบทุกคำถามของกลุ่มเป้าหมายไว้ในบทความเดียว – สิ่งนี้ไม่จริงแน่นอน คิดง่ายๆเลยว่าถ้าตัวเราเองเข้าไปอ่านบทความที่เลื่อนเท่าไหร่ก็ไม่จบสักที เราจะตั้งใจอ่านจริงๆไหม? แค่คิดก็ขี้เกียจแล้ว

การเสพบทความที่ Focus ไปที่เรื่องเดียว กระชับ และอ่านเข้าใจง่าย น่าจะเป็น Content ที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสนใจมากขึ้น และอยากติดตามต่อ 

อ่านมาถึงตอนนี้ ถ้าหากธุรกิจและแบรนด์ของคุณมั่นใจว่าทำ Content ที่ดีออกมาได้แล้ว ต้องอย่าลืมเรื่องการโปรโมทด้วยนะคะ เพราะ Content ที่ดี ต่อให้จะดีขนาดไหน อ่านง่าย ตอบคำถาม เข้าใจง่าย เนื้อหาน่าสนใจ แต่ถ้าขาดการโปรโมทก็อาจจะทำให้ธุรกิจเสียโอกาสไปได้เช่นกัน ซึ่งการโปรโมทก็สามารถทำได้หลายอย่าง แล้วแต่สื่อที่ทำ Content นั้นๆเช่น YouTube Advertising หากทำคลิปใน YouTube, Facebook Advertising โดยการนำบล็อกมาแชร์ใน Facebook Page

[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://www.unboxbkk.com/wp-content/uploads/2020/04/Viral-Content-scaled.jpg” alt=”Viral content marketing” title_text=”Viral content marketing” _builder_version=”4.4.4″][/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”4.4.4″ text_font=”Thai Regular||||||||” text_text_color=”#666666″ text_font_size=”22px” header_2_font=”Thai Regular||||||||” header_2_text_color=”#333399″ header_2_font_size=”29px”]

5. Content ที่ดีคือการทำ Content ที่อยู่ในกระแส (Viral)

การทำ Content ตามกระแส (Viral Content) ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเรื่องนั้นกำลังอยู่ในความสนใจของผู้คน แต่ข้อเสียคือ Content ตามกระแสนั้นจะไม่ได้รับความนิยมในระยะยาว บางเรื่องสามารถดึงดูดความสนใจของคนได้เพียงแค่ 1-3 วันเท่านั้น และหลังจากนั้น Content เหล่านั้นก็จะเริ่มเสื่อมค่าไปตามกาลเวลา ยกตัวอย่างใกล้จัวเลยคือเพลงเจน นุ่น โบว์ ที่ดังเป็นพลุแตกในแอพ TikTok เพียงชั่วข้ามคืน แต่อยู่ในโลก Social เพียงแค่ 1 สัปดาห์เท่านั้น

UNBOX BKK แบ่งการทำ Content เป็น 2 ชนิดได้แก่ Topical Content และ Evergreen Content โดย Topical Content ถือว่าเป็น Content ที่จะเสื่อมค่าตามกาลเวลา และ Evergreen Content หมายถึง Content ที่ไม่เสื่อมค่าตามกาลเวลา

เอาตัวอย่างการทำ Content มาฝาก เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนค่ะ:

แบรนด์ A ทำ Blog รายงานผลการแข่งขันกีฬา ในวันแรกที่ปล่อยบทความนั้น Blog ของแบรนด์ A ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก มี Traffic เข้ามาสูง แต่เมื่อผ่านไป 2-3 วัน Traffic จะเริ่ม Drop ลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นเป็นเพราะว่าอาจมีการพนันเกี่ยวกับผลการแข่งขันกีฬานั้นๆ พอการแข่งกีฬาเสร็จสิ้นผู้คนจึงต้องรีบ Search Google เกี่ยวกับผลการแข่งขันทันที เมื่อผู้คนทราบผลการแข่งขันแล้ว เขาจึงนำไปบอกต่อในวงกว้างผ่านสื่ออื่นๆ เช่น LINE, Facebook ทำให้ Blog ของแบรนด์ A นั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป

แบรนด์ B ทำ Content เรื่องสูตรอาหารเป็นคลิปลง YouTube คลิปละ 3 นาที เดือนละ 5 คลิป ผลคือในช่วง 3 เดือนแรกไม่ได้มี Traffic เข้ามาสูง เนื่องจากคนยังไม่รู้จัก Channel ของแบรนด์ แต่แบรนด์ B มีการโปรโมทคลิปเป็นครั้งคราว และทำอาหารใหม่ๆที่คนยังไม่ค่อยนิยม ทำให้แบรนด์ B เริ่มเป็นที่รู้จัก และมีกลุ่มเป้าหมายเริ่มเข้ามา Subscribe เยอะขึ้นเรื่อยๆ ผ่านไปอีก 3 ปี สูตรอาหารนี้ก็ยังใช้ได้อยู่ ทำให้ยังมีคนเข้ามาดู Content ของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ

สรุป

การ ทำ Content Marketing นั้นเป็นการทำการตลาดอย่างหนึ่งที่หลายๆ บริษัทนั้นกำลังทำการศึกษาและนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ แต่ต้องอย่าลืมว่าการ ทำ Content Marketing นั้นเป็นสิ่งที่ต้องวางแผนการทำในระยะยาว และไม่ใช่สิ่งที่สามารถเห็นผลได้ภายในพริบตา เวลาเท่านั้นจะช่วยทำให้เห็นผลได้ค่ะ

Contributor

Katina Rinsawad

Considered herself as a Digital Nerd. Full time digital marketer and freelance business consultant for SMEs. 70% of her life is spent in digital world while the remaining 30% is with luggages, boarding passes, and 2 cameras.

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Karn Triamsiriworakul

Instagram Filter ฟีเจอร์น่าสนใจสำหรับใช้โปรโมตแบรนด์

กระแสการสร้าง Instagram Stories (IG Stories) ทำให้ฟิลเตอร์ของ Instagram ที่ใช้ตกแต่งวีดีโอกลายเป็นกระแสตามไปด้วย ซึ่งตัวแพลตฟอร์มก็เพิ่มลูกเล่นให้กับฟีเจอร์นี้โดยอนุญาตให้คนทั่วไปหรือแบรนด์สร้างฟิลเตอร์ใช้เองและแชร์ฟิลเตอร์นี้ให้คนอื่นๆ ใช้ต่อได้ด้วย

Read More »
blog
Pichapen Sorum

การลงทุนไปกับการออกแบบ (Design) จะทำให้แบรนด์กอบโกยรายได้ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างไร?

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Doug Main เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ MarketingTech วันที่ 8 กันยายน 2020) หลายองค์กรมองว่าการออกแบบเป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมา

Read More »
Comodo SSL