การรีแบรนด์ครั้งใหญ่ของ Victoria’s Secret

(Victoria’s Secret ในยุคก่อนกับภาพลักษ์สาวเซ็กซี่รูปร่างสูงโปร่ง ขอบคุณภาพจาก Vogue Thailand) จากนางฟ้าสุดเซ็กซี่สู่คุณค่าความงามแบบสากล หลังจาก Victoria’s Secret แบรนด์ชุดชั้นในสุดเซ็กซี่ชื่อดัง ได้ประกาศยกเลิกการจัดแฟชั่นโชว์ของเหล่านางฟ้าตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา เนื่องด้วยการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงจุดยืนของทางแบรนด์จากกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการให้คุณค่าต่อเรือนร่างผู้หญิงในแบบที่สูงโปร่ง ผอมบาง เซ็กซี่อย่างเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด สู่การปฏิวัติ หรือปรับเปลี่ยนแบรนด์ที่เริ่มให้คุณค่ากับเรือนร่างสตรีที่มีความหลากหลาย และให้ความสำคัญกับผู้หญิงในมิติที่นอกเหนือไปจากจากด้านรูปร่างมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการเปลี่ยนชุดผู้บริหาร ทีมงาน และเริ่มสะท้อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ออกมาในรูปแบบแคมเปญที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา (ภาพลักษณ์ใหม่ของ Victoria’s Secret) โดยล่าสุดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ ทาง Victoria’s Secret ได้ประกาศจัดตั้งทีม VS Collective อันประกอบไปด้วยผู้หญิงจากหลากหลายสาขาอาชีพจำนวน 7 คน ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำให้แบรนด์ไปในทางที่สอดคล้องต่อมุมมองต่อสตรีในโลกสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น หรือในสำนักข่าวต่างชาติบางสื่อนั้นเรียกว่าพวกเธอนั้นเทียบเท่าภาพลักษณ์ หรือเป็น Ambassador ชุดใหม่ของแบรนด์เลยทีเดียว โดย VS Collective นั้นประกอบไปด้วย 1. Adut Akech: นางแบบ ผู้ลี้ภัย และผู้สนับสนุนสวัสดิภาพทางสุขภาพจิต 2. Amanda De Cadenet: […]

Corporate Sustainability ธุรกิจในวันนี้ จะรุ่งเรืองอยู่คนเดียวไม่ได้

พวกเราคงไม่ได้รู้สึกกันไปเองแน่ๆ ว่าหลายปัญหาในโลกทวีความรุนแรงขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะ โลกร้อน ขยะล้นโลก อย่างมลภาวะ PM 2.5 หมอกพิษที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งเดินทางมาถึงหน้าบ้านของทุกคนในประเทศไทย ไหนจะปัญหาสังคม คุณภาพชีวิตและการทำงาน ความเครียดของคนในสังคม จากสถิติพบว่าคนทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 25% มีประสบการณ์เคยปรึกษาจิตแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่และสภาพจิตใจของคนบนโลกมากขึ้นเรื่อยๆ จนจะทำไม่รู้ไม่ชี้กันไม่ได้แล้ว ทัศนคติของผู้บริโภคย่อมเปลี่ยนไปในทางที่สนใจสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น ไม่ใช่แค่ในกิจวัตรทั่วไปที่พวกเขาทำ แต่รวมไปถึงเวลาที่พวกเขาจับจ่ายซื้อของก็ไม่ได้มองหาแค่นวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีจากแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมองด้วยว่าแบรนด์นี้สร้างผลกระทบที่ดีต่อโลกอย่างไรบ้าง (ผู้คนสามารถเข้าถึงประวัติของบริษัทได้ในไม่กี่วินาที ยิ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าสักชิ้นอย่างมาก) แบรนด์และบริษัทจึงไม่สามารถเอาแต่คิดเรื่องขยายธุรกิจหรือมุ่งเน้นผลกำไรได้อีกต่อไป แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่ล้อมรอบธุรกิจอยู่ด้วยว่าพวกเขาสร้างผลกระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้างระหว่างที่กำลังดำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมาย (อันที่จริงทั้งบริษัทและลูกค้าก็อยู่ในภาชนะเดียวกัน ในมุมหนึ่งจะเรียกว่ามีความรับผิดชอบร่วมกันก็ได้ ในบางตำราธุรกิจก็เปลี่ยนจากคำว่า Customer หรือลูกค้า เป็น Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแทน) ด้วยเหตุนี้จึงเกิดโมเดลธุรกิจ Corporate Sustainability (ความยั่งยืนขององค์กร) ขึ้น เป็นหลักการว่าด้วย 3 องค์ประกอบ ที่ภาคธุรกิจต้องคิดถึงและดูแลประคับประคองเพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน หลักการเหล่านี้ต้องถูกบรรจุไว้เป็นเนื้อเดียวกับการพัฒนาองค์กร พัฒนาพนักงาน พัฒนาสินค้าและบริการ ไม่ใช่แค่ดำเนินธุรกิจอะไรไปแล้ว ค่อยมาทำชดเชยหรือทดแทนทีหลัง 3 องค์ประกอบที่ว่า […]