Facebook เปิดตัว “อีเว้นท์ออนไลน์แบบต้องจ่ายเงิน” ฟรี สำหรับธุรกิจรายย่อยและอื่น ๆ

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Greg Sterling เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ MarketingLand วันที่ 14 สิงหาคม 2020)

“เครื่องมือแบบ All-in-One นี้จะเปิดให้บริการฟรีเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี” Facebook กล่าว

Facebook ต้องการจะช่วยเหลือธุรกิจรายย่อย (SMBs) ให้รอดพ้นจากวิกฤต COVID-19 และสามารถสร้างรายได้ได้

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ประกาศสนับสนุนเงินสดจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเครดิตโฆษณาสำหรับธุรกิจรายย่อย และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้ออกฟีเจอร์ Facebook Shops เพื่อช่วย SMBs ขายสินค้าออนไลน์ และในวันนี้ บริษัทฯ ก็ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยสร้างรายได้จากการเรียนและสร้าง Online Events ที่เรียกว่า “Paid Online Events” หรือ “อีเว้นท์ออนไลน์แบบต้องจ่ายเงิน”

เป็นช่องทางใหม่ที่น่าจะมีศักยภาพสูงพอตัว ณ ตอนนี้ อีเว้นท์ออนไลน์แบบต้องจ่ายเงินยังเป็นฟีเจอร์แบบฟรีๆ ที่ช่วยธุรกิจ, ผู้ผลิต Content, นักศึกษา, และสื่อ ให้เริ่มกิจกรรมหรือคลาสเรียนที่ต้องชำระเงินออนไลน์ โดยที่สามารถรับรายได้แบบเต็มๆ 100% ยกเว้นการทำอีเว้นท์บน iOS ที่ผู้จัดงานอาจจะต้องจ่ายถึง 30% เป็น “ค่าภาษีของ App-Store” ซึ่งเป็นศัพท์ที่ Facebook เรียก

โครงการนี้มาพร้อมทุกอย่าง ทั้ง Hosting, โปรโมชั่น, การขายตั๋ว และระบบการชำระเงิน มีให้หมด โดยสามารถเช็คสิทธิ์เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่

นักการตลาดสามารถสร้างอีเว้นท์แล้วโปรโมทให้กับแฟนเพจทั่วไปหรือผ่านโฆษณาใน Facebook แล้วก็เก็บเงินผ่าน Facebook ได้เช่นกัน (แต่ต้องเชื่อมโยงบัญชีธนาคารเข้ากับแพลตฟอร์มของ Facebook เพื่อรับเงิน) อย่างไรก็ตามผู้จัดอีเว้นท์จะต้องปฏิบัติตามนโยบายการสร้างรายได้และเงื่อนไขของทาง Facebook และผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

ข้อดีของฟีเจอร์นี้อีกอย่างคือนักการตลาดจะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายแบบ Custom Audiences ได้จากผู้เข้าร่วมอีเว้นท์หรือคลาสได้

Facebook Paid Online Events

(ระบบการชำระเงินของ Apple และ Android)

ไม่มีค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลาหนึ่งปี Facebook กล่าวว่าทางบริษัทฯ จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ “อย่างน้อยจนถึงปีหน้า” ผู้ที่มองในแง่ร้ายก็จะบอกว่านี่เป็นวิธีที่บริษัทฯ จะกระจายการใช้งานของฟีเจอร์นี้จนกว่าจะมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้อาจจะสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจรายย่อยได้จริง ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

ก่อนหน้านี้ระหว่างการแถลงข่าว ตัวแทนของ Facebook ได้แจ้งว่าบริษัทฯ พยายามทำข้อตกลงกับ Apple ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม 30% ของ App Store แต่ Apple ปฏิเสธ

นอกจากนี้ Facebook ได้แจ้งว่าจะไม่มีการรวบฟีเจอร์นี้เข้ากับ Facebook Shops ในตอนนี้ แต่ในเร็วๆนี้ “แบรนด์และครีเอเตอร์จะสามารถติดแท็กสินค้าจาก Facebook Shop หรือแคตตาล็อก ก่อนที่จะเปิดตัวสินค้าเหล่านั้น โดยสินค้าจะแสดงอยู่ที่ด้านล่างของคลิปวิดีโอเพื่อให้ผู้ชมสามารถแตะเพื่ออ่านเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม และซื้อได้อย่างสะดวกขึ้น เรากำลังเริ่มทดสอบฟีเจอร์นี้กับเพจธุรกิจบน Facebook และ Instagram และจะเริ่มขยายการใช้งานในวงกว้างขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า”

ได้คำนิยมจากธุรกิจขนาดเล็ก บริษัทฯ แจ้งว่าจากการทดลองใช้งานของธุรกิจรายย่อยที่ได้เข้าร่วมทดสอบระบบบนแพลตฟอร์ม ทุกคนล้วนแสดงความตื่นเต้นและนิยมชมชอบฟีเจอร์นี้ โดยหนึ่งในนั้นเรียกฟีเจอร์นี้ว่าเป็น “ตัวพลิกเกม” และ Facebook กล่าวว่าผู้จัดอีเว้นท์ได้ใช้เครื่องมือนี้เพื่อจัดกิจกรรมการสนทนาและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ อีเว้นท์การตอบคำถาม การบันทึก Podcast การแข่งขันชกมวย คลาสเรียนทำอาหาร การพบปะพูดคุยแบบใกล้ชิด คลาสออกกำลังกาย ฯลฯ

Facebook Paid Online Events

Facebook กล่าวเพิ่มเติมว่าอีเว้นท์ออนไลน์แบบต้องจ่ายเงินนี้จะเปิดให้บริการทันทีในสหรัฐอเมริกาและอีก 19 ประเทศรวมถึงแคนาดาและเม็กซิโก ประเทศหลักในยุโรป และบางประเทศในโซนเอเชีย เรามาลุ้นกันว่าจะมีประเทศไทยด้วยหรือไม่!

ทำไมเราถึงสนใจ ยังมีข้อมูลอีกหลายอย่างให้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเว้นท์ออนไลน์แบบที่ต้องจ่ายเงิน แต่ที่แน่ๆ คือมีความเป็นไปได้ที่ฟีเจอร์นี้จะกลายมาเป็นตัวสร้างรายได้และช่องทางการขายใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ตัวฟีเจอร์ยังสามารถเสริมเข้าไปกับกลยุทธ์การทำเนื้อหาคลิปวิดีโอและการทำ Live-Streaming ของ Facebook และแน่นอนว่าฟีเจอร์นี้จะช่วยทำให้การทำอีเว้นท์และคลาสแบบออนไลน์กลายเป็นปกติสำหรับผู้บริโภค

Facebook มองว่าตัวเองเป็นที่หนึ่งในการดูแลผลประโยชน์ให้กับธุรกิจรายย่อย และนี่คือตัวอย่างของการหยั่งรู้ในเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน

Contributor

Pol.Lt.Pichapen Sorum, Ph.D.

Pichapen is specialized in fields ranging from Public Policy to Content Marketing and Social Media Advertising. She’s experienced in working with both Government entities, and Start-Ups through the last decade. She’s also worked in translation, transcreation & copywriting for over 15 years and was positioned as a magazine editor for an online magazine before moving to FinTech. Pichapen is now working as a marketing manager for a Singaporean Start-Up, based in Thailand.

Contributor

Share this post with your friends

More Articles

blog
Pichapen Sorum

เราจะจัดการกับคอมเมนท์ในเชิงลบบน Social Media อย่างไรดี

(บทความนี้แปลและดัดแปลงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เขียนโดย Andrew Hutchinson เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ SocialMediaToday วันที่ 6 กรกฎาคม 2020) หลายๆครั้งผู้ดูแล

Read More »
blog
Katina Rinsawasdi

อยาก สร้างเว็บไซต์ ของตัวเอง ควรติดเครื่องมืออะไรบ้าง?

สำหรับยุคดิจิทัลนี้ การ สร้างเว็บไซต์ ถือเป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่ถนัดมากนัก แต่รู้หรือเปล่าว่า เมื่อมีความคิดที่ว่า อยากมีเว็บไซต์สักเว็บไว้ดำเนินธุรกิจ หรือขายของออนไลน์ การติดตั้งเว็บไซต์ดูเหมือนจะเป็นเรืองง่ายๆ

Read More »
blog
Karn Triamsiriworakul

มาทำ CRM กันเถอะ

ความผูกพัน เป็นสิ่งที่มีพลังมาก ทั้งโน้มน้าวใจและผลักดันผู้คน อย่างที่เราคงเคยเห็นว่าคนเรายอมลงแรงหรือยอมเสียสละอะไรต่อมิอะไรได้มากมายเพื่อสิ่งที่เราผูกพัน ความผูกพันไม่ได้จำกัดเพียงแค่ระหว่างคนกับคนด้วยกัน เรายังผูกพันกับงานอดิเรก กับบริษัท หรือแม้แต่กับแบรนด์ที่เราใช้สินค้าหรือบริการของพวกเขาได้ด้วย CRM (Customer

Read More »
Comodo SSL