วิเคราะห์ดราม่า “ซงจีอา”: บทเรียนจาก Consumer เพื่อ Brand และ Influencer

จากเรื่องดราม่าของ YouTuber สาวสวยจากรายการ Single’s Inferno ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีการใช้สินค้าไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ “แบรนด์เนมปลอม” ซึ่งถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ออกอากาศรายการ และลงรูปใน Social จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคมเกาหลีใต้ จนกระทั่งเจ้าตัวถึงกับต้องปิดเพจ ลบรูปหนีไปนั้น เรามาลองวิเคราะห์ดูบทเรียนจากพลังของ Consumers ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กันดูบ้าง 1. เสียงที่ใหญ่ที่สุดเป็นของ Consumer เสมอถึงแม้จะมีบ้างที่แสดงความเห็นใจ สงสาร แต่เสียงส่วนมากคือการวิพากษ์ วิจารณ์ ไม่สนับสนุน ไปจนถึงตามจับผิด เรียกได้ว่าไม่ให้ผุดไม่ให้เกิดกันเลยทีเดียว นี่เป็นความจริงที่สำคัญมากสำหรับแบรนด์และ Influencer ที่ต้องการจะเติบโต โดยต้องจำไว้เสมอว่า สุดท้ายแล้วผู้ที่จะเป็นคนตัดสินใจสนับสนุนหรืออุดหนุนแบรนด์ของเราก็ไม่พ้นผู้บริโภคอยู่ดี 2. เราอยู่ในโลกที่สังคมระบบทุนนิยม และวัตถุนิยมเป็นใหญ่คนให้ความสนใจกับ Social Media และภาพลักษณ์มากๆ ตัวอย่างใกล้ตัวง่ายๆ คือการที่คนทั่วไปถ่ายภาพและแชร์ภาพลง Social อวดกัน ไม่ว่าจะเป็นของที่ใช้ กิจกรรมที่ทำ หรือสถานที่ที่ไป ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดของการทำการตลาดในยุคนี้คือ คาเฟ่ที่มีคนไปคือคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปให้ลง Social Media ได้ ร้านอาหารหรือรีสอร์ทต่อให้อยู่ไกลแค่ไหน เข้าตรอกซอกซอยลึกลับเพียงใด ขอแค่เข้าคอนเซปต์ “วิวหลักล้าน” […]