นับเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้วนับตั้งแต่เคสแรกที่มนุษย์เรากำลังโดนโจมตีด้วยมรสุมโรคระบาดไวรัส Corona หรือที่เราเรียกกันว่า COVID-19 ซึ่งไวรัสวายร้ายตัวนี้ทำให้การใช้ชีวิตของคนทั้งโลกเปลี่ยนไปในหลากหลายรูปแบบ เช่น ต้องรักษาความสะอาดกันมากขึ้น ล้างมือกันบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัส ตา จมูก และปาก ที่สำคัญคือการทำ Social Distancing หรือแปลง่ายๆอย่างตรงตัวก็คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม จุดนี้เองทำให้มีการปรับเปลี่ยนของการใช้ชีวิตประจำวันและผู้คนหันมาติดต่อและโต้ตอบกันผ่านช่องทาง Online มากยิ่งขึ้น
วันนี้ UNBOX BKK จะมาเล่าถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นใหม่ และเทรนด์ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซักพักแล้วแต่จะกลายเป็น New Normal สำหรับผู้บริโภคและธุรกิจหลายๆรูปแบบให้รับทราบ มีทั้งหมดด้วยกันถึง 10 เทรนด์ ตัวอย่างบางข้ออาจจะยังไกลตัวสำหรับคนไทย แต่เราสามารถลองปรับตัวเป็นผู้ใช้คนแรกๆได้เช่นกัน
(Source: https://artsandculture.google.com/)
เทรนด์ที่ 1: Virtual Experience Economy
อ้างอิงจากคำกล่าวของคุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ในงาน Thailand 2019 จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ช่วงปลายปี 2561 เธอได้กล่าวไว้ว่ามีการปรับใช้ Experience Economy หมายถึงเศรษฐกิจที่นำโดยการให้ประสบการณ์กับคนที่มารับบริการ แต่หลังจากที่เราต้องมีการ Social Distancing มากยิ่งขึ้น ทำให้รูปแบบเศรษฐกิจแบบ Offline ต้องปรับตัวเป็น Virtual Experience Economy นั่นคือการประกอบร่างกันระหว่างโลกเสมือนจริงกับการสัมผัสประสบการณ์แนวใหม่ ให้ผู้บริโภคสามารถรับประสบการณ์แบบที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น Google Arts & Culture ที่ทำให้เราสามารถเข้าไปดูการแสดงบัลเล่ต์ที่ Palais Garnier ที่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ในรูปแบบ 360° องศา หรือแม้กระทั่ง Street View ด้านในพระราชวัง Versailles อีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและเข้าถึงโลกเสมือนจริงนั้นเช่น เกมส์ Assassin’s Creed ที่ได้เพิ่มฟีเจอร์ “Discovery Tour” ทำให้ผู้เล่นได้เข้าไปลองสัมผัสและใช้ชีวิตจริงในยุคอียิปต์โบราณ ทั้งนี้ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญในประเทศอียิปต์อีกด้วย
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
เราอาจจะต้องเจอกับข้อกำหนดของเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) หรือ AR (Augmented Reality) มากมายที่จะเกิดขึ้นกับการนำมาปรับใช้ ตัวเทคโนโลยีก็ยังสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือสิ่งกระตุ้นให้มนุษย์เรามีส่วนร่วมในประสบการณ์นั้น สิ่งที่ท้าทายกว่าคือ ต้องอย่ามองว่าประสบการณ์ดิจิทัลเป็นแค่เครื่องมือความบันเทิง แต่ให้มองว่าสิ่งนี้จะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค แล้วมองต่อว่าเราจะสร้าง Virtual Experience อย่างไร ให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าและอยากที่จะแชร์ต่อ ให้ได้เท่ากับในโลกแห่งความเป็นจริง
เทรนด์ที่ 2: Shopstreaming หรือ Live Commerce
เนื่องจากเทรนด์นี้มาจาก Source ฝั่งตะวันตก ทำให้การ Livestreaming + E-commerce เป็นอะไรที่ยังใหม่สำหรับโลกฝั่งตะวันตกอยู่ แต่คนเอเซียอย่างพวกเราอาจจะคุ้นเคยกับสิ่งนี้บางแล้ว จนมองว่าทุกวันนี้การ Live ขายของเป็น New Normal ไปแล้ว ที่มาของการไลฟ์ขายของนั้นมาจากหนึ่งใน E-commerce ยักษ์ใหญ่ของจีน นั้นก็คือ Taobao โดยในช่วงเดือนเมษายน 2019 Taobao เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่มีหน้าร้านออนไลน์กับเขามาไลฟ์ขายของ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มรายได้ ของไทยเรา E-commerce เจ้าใหญ่ๆอย่าง Shopee และ Lazada แน่นอนว่าก็มีการเพิ่มฟังก์ชั่น Live นี้ด้วยเหมือนกัน จากการคาดการณ์ของ เอ็มเซเว่นทีน ผู้ให้บริการด้านไลฟ์สดและโลจิสติกส์ คาดว่าปี 2020 นี้การไลฟ์สดจะทำให้เกิดมูลค่าของการตลาดพุ่งขึ้นสูงกว่า 200,000 ล้านบาทเลยทีเดียว!
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ไม่ใช่แค่การไลฟ์ขายของไปวันๆแบบตามมีตามเกิดที่จะทำให้เราขายของได้เท่านั้น แต่จะต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าเข้าไปด้วย สิ่งที่ท้าทายคือนักการตลาดดิจิทัลจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะและถูกใจผู้บริโภคได้หรือไม่ ธุรกิจต่างๆอาจจะต้องลองเปลี่ยนรูปแบบการทำการตลาดเพื่อให้เหมาะกับเป้าหมายลูกค้าของเรามากที่สุด เช่นการนำ Micro Influencer เข้ามาใช้ในการช่วยไลฟ์ แต่อย่างไรก็ตาม UNBOX BKK เห็นว่าเทรนด์นี้ไม่ได้เหมาะกับทุกธุรกิจเสมอไป
เทรนด์ที่ 3: Open Source Solutions
Open Source Solutions หมายความว่าการที่หลายๆฝ่ายร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยากและเป็นที่ต้องการของคนหมู่มาก เพื่อความยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำใจและความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละบริษัทหรือองค์กร ทำให้ผู้คนรู้สึกชื่นชมและทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับ เป็นการสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจคน
ขอยกตัวอย่างเคส Ford, UBER และ LYFT จริงๆแล้วทั้ง 3 เจ้านี้ถือว่าเป็นคู่แข่งกันในธุรกิจเชิงยานพาหนะ แต่ทั้ง 3 บริษัทกลับร่วมมือกันสร้างโปรเจคในรูปแบบแพลตฟอร์มที่ใช้ชื่อว่า SharedStreets เป็นโปรเจคอิสระไม่แสวงผลกำไร โดยได้รับเงินลงทุนโดยกลุ่มผู้ใจบุญจาก Bloomberg โปรเจค SharedStreets นี้เป็นแหล่ง Open Data ให้ผู้ที่ทำ Startup หรือผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจารจรในเมือง ได้รับทราบข้อมูลความหนาแน่นของการจราจรในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงเส้นทางที่แม่นยำที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดระหว่างจุดเริ่มต้นไปถึงปลายทาง เพื่อให้เหล่า Application Developer หรือ Web Developer นำข้อมูลเหล่านี้ไป Plug-in และต่อยอดกับธุรกิจของตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ลองกลับมาถามตัวเองว่า ธุรกิจของเราสามารถทำอะไรในวันนี้ที่ตัวเราเองจะสามารถเล่าต่อได้ในอีก 50 ปีว่าสามารถช่วยเหลือสังคมในด้านใดได้บ้าง การทำเพื่อสังคมอาจจะมองว่าเป็นเรื่องรอง แต่หากเราทำได้นั้น สังคมของเราจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้นแน่นอน
(source: https://www.edie.net/news/6/Stella-McCartney-opens-London-store-with–purest-air-in-the-capital-/)
เทรนด์ที่ 4: Ambient Wellness
การสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดถูกสุขอนามัยให้กับลูกค้าช่วงเวลานี้เป็นโมเมนต์ที่สำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็จะหยิบเจลล้างมือขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดตลอดเวลา หรือบางสถานที่ อย่างห้าง Em Quartier ที่ยกระดับด้วยการสร้าง EM Auto Sanitizing Gate ถึงจะโดนแฉว่าไม่ได้รับการรับรองจาก ECDC (หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อของยุโรป) แต่ก็ทำให้เห็นถึงความใส่ใจในตัวผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการสถานที่ และมีผู้ให้ความสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อีกหนึ่งตัวอย่างสุดชิคระดับ World Class ก็คงเป็น Flagship Store ของ Stella McCartney ในกรุงลอนดอน ที่เพิ่มประสบการณ์ในการช้อปปิ้งโดยการติดตั้งเครื่องกรอกอากาศที่สามารถผลิตอากาศบริสุทธิ์ อีกทั้งยังกำจัดมลพิษได้มากถึง 95% สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงจิตใต้สำนึกของแบรนด์ที่ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมและความยั่งยืน
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
เรื่องสุขอนามัยเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ เราสามารถยกมาตรฐานของสินค้าและบริการของเราได้ หากเราพิจารณาไว้ก่อนเลยว่าสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ ถึงแม้จะไม่มีสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แต่การมีมาตรการความสะอาดและความปลอดภัยที่สูง ก็จะทำให้ลูกค้าวางใจในสินค้าและการบริการของเราแน่นอน
(source: https://www.neon.life/)
เทรนด์ที่ 5: Virtual Companion
จากเหตุการณ์ที่เกิดในตอนนี้ ทำให้รัฐบาลออกมาตรการ Curfew จึงทำให้ผู้คนมีการพบปะในรูปแบบตัวต่อตัวได้ยากขึ้น ทุกวันนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มหันมาปรับใช้ตัวช่วยด้านธุรกิจหรือ Lifestyle ในรูปแบบดิจิทัลและ Chatbot มากยิ่งขึ้น และบางกลุ่มเองก็เริ่มที่จะหาเจ้า Virtual Companion ที่มีศักยภาพทางด้านความบันเทิง การศึกษา เป็นเพื่อน หรือแม้กระทั่งช่วยในการบำบัดหรือการรักษาเบื้องต้นมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างเช่น แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Samsung ได้ทำการพัฒนาปัญญาปะดิษฐ์ Samsung NEON ที่มีรูปร่างและท่าทางเหมือนกับมนุษย์จริง แตกต่างกับ Siri หรือ Alexa ตรงที่เจ้า Samsung NEON จะสามารถโต้ตอบได้เหมือนเราคุยกับบุคคลทั่วไป และยังสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อีกด้วย แต่ยังอยู่ในช่วงพัฒนาและมีแพลนว่าจะออกเวอร์ชั่นจริงภายในปี 2020 นี้
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จะต้องมี Virtual Companion แต่ทีมงาน UNBOX BKK มองว่าหากแบรนด์ของคุณเป็นแบรนด์ที่สะท้อนถึงความเป็นเพื่อนคู่ใจ การใช้ Virtual Companion จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจและแบรนด์ ดังนั้นการคิดย้อนกลับมาว่าตัว Virtual Companion นี้จะต้องมีบุคลิกภาพอย่างไรให้เหมาะสมกับแบรนด์ก็คงท้าทายไม่ใช่น้อย
เทรนด์ที่ 6: Mentor-To-Protege
อีกหนึ่งเทรนด์ที่มาแน่ๆ คือเทรนด์ของการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเองในรูปแบบที่มีเมนเทอร์หรือโค้ชเพื่อเป็นที่ปรึกษา โดยเฉพาะในรูปแบบ Online เหตุผลเพราะผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้าน และที่สำคัญคือการที่หลายๆบริษัท Lay-off พนักงาน หรือแม้กระทั่งบางบริษัทต้องปิดตัวลง ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ยกตัวอย่างจาก UNBOX BKK เราได้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นรูปแบบ 100% Online โดยสอนผ่าน Google Hangouts ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกช่วงเวลาการเรียนได้ตามใจชอบ แต่ละคอร์สของ UNBOX BKK การันตีได้ในตัวของหลักสูตรที่ทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อีกทั้งยังสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจากแพลตฟอร์มโดยตรง และยังมีบริการใหม่ล่าสุด Private Online Consultant จาก UNBOX BKK ที่ลูกค้าสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing แบบสดๆตัวต่อตัว
หรืออีกตัวอย่าง เป็นการ Partner กันระหว่างแอพพลิเคชั่นสอนภาษาอย่าง Duolingo และ Twitch ที่เป็น Community Platform ที่เริ่มแรกจะเน้นเหล่า Gamer ที่มาสตรีมเกมส์และพูดคุยกันผ่านเกมส์ออนไลน์ เมื่อ 2 พาร์ทเนอร์มาร่วมมือกัน ทำให้เกิดการสอนภาษาต่างประเทศมากถึง 12 ภาษานานาชาติ โดยผู้เข้าร่วมแชทรูมนี้สามารถถามตอบได้แบบ Real Time เหมือนได้อยู่ในห้องเรียนจริง และสามารถพูดโต้ตอบกับเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอนได้ด้วย
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
อย่างที่ Steve Jobs เคยกล่าวไว้ว่า “Stay Hungry, Stay Foolish” นั้น หมายความว่าคนเราต้องมีความกระหายและขวนขวายความรู้ตลอดเวลา เพราะโลกเราไม่หยุดนิ่ง มีสิ่งใหม่ๆและนวัตกรรมใหม่ๆมาให้คนเราเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ถ้าคุณหยุดก็ล้าหลังกว่าคนอื่นไปแล้ว
(source: https://techcrunch.com/2019/06/17/dominos-serves-up-self-driving-pizza-delivery-pilot-in-houston/)
เทรนด์ที่ 7: A-Commerce
เทรนด์นี้เริ่มเมื่อปี 2018 แต่ก็จัดว่าใหม่สำหรับประเทศไทย ชื่อเต็มคือ Automated Commerce แปลเป็นไทยคือการซื้อ-ขายสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติ เทรนด์นี้จะมีการปรับใช้มากยิ่งขึ้นเพราะลูกค้าไม่ต้องสัมผัสหรือมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ขายที่เป็นมนุษย์แบบต่อหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนไป (ใช่ไหมล่ะ!) ด้งนั้นเราจะค่อยๆสังเกตเห็นแบรนด์มีการปรับใช้ A-Commerce มากขึ้น ตัวอย่างเช่นฝั่งของอเมริกา Domino Pizza ที่มีรถส่งพิซซ่าไร้คนขับเริ่มใช้เมื่อช่วงกลางปี 2019 เมือง Houston ผู้บริโภคสามารถปลดล๊อคพิซซ่าได้จาก PIN ที่ได้รับตอนสั่งพิซซ่า สบายจริงๆ
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ อะไรที่สะดวกและง่ายสำหรับผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภคไม่ต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อ นับว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเข้าหาบริการนั้นๆมากขึ้น จริงๆแล้วตัวรถส่งพิซซ่าของ Domino นั้นก็ไม่ได้ต่างจากรถพุ่มพวงที่ประเทศไทยมี ถ้าประเทศไทยนำไอเดียนี้มาใช้โดยปรับเป็นรถที่มีคนขับแต่มี Smart Solution พ่วงท้ายบนรถ ให้ผู้บริโภคช้อปปิ้งได้โดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับคนขาย ก็คงจะสะดวกสบายไม่น้อย และคงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เราสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อีกด้วย
เทรนด์ที่ 8: The Burnout
สถานการณ์ของโรคระบาด COVID-19 มีผลกระทบต่อปัจจัยหลากหลายทั้งภาคเศรษฐกิจที่ซบเซา จำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจภาคท่องเที่ยวมีการปิดตัวลง การเดินทางที่มีการคุมเข้มมากขึ้นถึงขั้นปิดชายแดนห้ามการบิน การเว้นระยะห่างทางสังคม สุขอนามัยที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดสภาวะตึงเครียดที่มีต่อสุขภาพจิต หรือที่เรียกว่าการ Burnout หมดไฟในการทำงานหรือการทำกิจกรรม
ดังนั้นจึงมีธุรกิจบางรายที่เพิ่ม Option เสริมให้กับผู้บริโภค เป็นการบำบัดความตึงเครียด ตัวอย่างเช่น The Moxy Hotel ที่ New York ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นอกจากจะบริการห้องพักแล้วยังมี In-room Service ASMR (Autonomous Sensory Meridian Response) นั่นก็คืออาการตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติในรูปแบบ VDO ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เกิดเป็นอารมณ์ที่ผ่อนคลาย โดยผู้เข้าพักสามารถเปิดรับฟังเป็นนิทานก่อนนอนเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย อีกแบรนด์ที่ทำก็คือ IKEA ที่ทำ VDO ASMR ที่มีเสียงกระซิบของผู้บรรยายและการปูผ้าปูที่นอน เน้นให้ผู้ฟังได้ยินเสียงสัมผัสของการดึงผ้าปูเตียง
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
การปรับใช้เทรนด์นี้จะต้องผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และลองผิดลองถูก แต่ก็ไม่ได้ต้องลงทุนเยอะมาก เพียงแต่เราจะต้องหาให้เจอว่าผู้บริโภคของเรานั้นมีพฤติกรรมแบบใด และธุรกิจของเราสามารถช่วยลดระดับความเครียดนั้นได้อย่างไร อาจจะไม่ใช่ในรูปแบบของ ASMR เสมอไป แต่อาจเป็นการส่งต่อความผ่อนคลายถึงบ้านให้ทางผู้บริโภคก็เป็นได้
เทรนด์ที่ 9: Assisted Development
ช่วงนี้ที่ผู้คนต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น สถานการณ์บังคับให้เราต้องเรียนรู้ที่จะต้องทำงานบ้านด้วยตัวเอง บางคนถือโอกาสนี้ฝึนฝนการทำอาหาร และถึงขั้นหลังจากนี้เราอาจจะเห็นคนไปสมัครรายการ MasterChef มากขึ้นก็เป็นได้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีหลายคนที่ประสบปัญหาการทำสิ่งเหล่านี้ไม่เป็น แต่พร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการทำด้วยตัวเอง ในฝั่งอเมริกามีบริษัทที่ขายเครื่องใช้สำหรับการทำอาหารชื่อว่า Equal Parts ได้ให้บริการที่เรียกว่า Text-a-Chef – บริการส่งข้อความถามเชฟให้ช่วยในการทำอาหาร ให้ลูกค้าที่ซื้อหม้อหรือกระทะจากทางร้านไป
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
ธุรกิจต้องมองโจทย์ในการขายสินค้าที่ไม่ใช่แค่การขาย รับเงิน และจบๆไป แต่ต้องตั้งคำถามว่าสินค้าและบริการของเราจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะอะไรในตัวลูกค้าได้บ้าง? หลังจากวิกฤตนี้ผู้บริโภคจะหันมาขอบคุณและสนับสนุนแบรนด์ที่ช่วยให้ตัวเขารอดพ้นจากสถานการณ์นี้อย่างแน่นอน นอกจากสินค้าจะช่วยให้คนอยู่รอดแล้ว ต้องคิดว่าทำอย่างไรธุรกิจและแบรนด์จะสามารถให้สินค้าและบริการเป็นสิ่ง ”จำเป็น” ในการใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้
เทรนด์ที่ 10: Virtual Status Symbols
มาถึงเทรนด์สุดท้ายซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ได้รับอิทธิพลจาก Social Media และสื่อออนไลน์ที่เราจะต้องมีไอเท็มแบรนด์เนมหรือ Gadget สุดล้ำมาโชว์ของที่เราสามารถสวมใส่หรือประดับร่างกายได้จริง และเทคโนโลยีอย่าง AR (Augmented Reality) ก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้ โดยการช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความ ”อยาก” มากยิ่งขึ้น จุดนี้เองทำให้บริษัท Startup จากอังกฤษ Drest ได้ทำการพัฒนา Application ในรูปแบบ Fashion Platform ฝังด้วยเกมส์และยกระดับการช้อปปิ้งแบบ Luxury ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกเสื้อผ้าจากแบรนด์อย่างชุดราตรีจาก Gucci และจะเลือกแมตช์กับกระเป๋าจาก Celine คอลเลคชั่นล่าสุดเพื่อประดับตัวละครในเกมส์ หลังจากนั้นหากผู้บริโภคถูกใจก็สามารถซื้อมาใส่ได้จริงเช่นกัน
แล้วเราจะต้องปรับตัวกับเทรนด์นี้อย่างไร?
การทำ Research เกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าที่บริโภคสินค้าและการบริการของเราเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้รู้ว่า สินค้าและบริการของเราสะท้อนสถานภาพทางสังคมระดับไหนหลังจากผู้บริโภคได้ลองใช้แล้ว เราอยากให้ผู้บริโภครู้สึกอย่างไรทั้งในโลกจริงและโลก Online เมื่อใช้สินค้าและการบริการของเรา และแบรนด์เรานั้นจะช่วยยกระดับกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานจริงได้อย่างไรในโลกเสมือนจริง
ทั้งหมดนั้นคือทั้ง 10 เทรนด์ที่เกิดขึ้นแล้ว และทีมงาน UNBOX BKK คาดการณ์ว่าเทรนด์เหล่านี้จะกลายเป็น New Normal เป็นความสนุกความท้าทายใหม่ให้กับนักการตลาดดิทิจัลได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจต่างๆ และที่สำคัญทุกเทรนด์ไม่ได้เหมาะสมกับทุกธุรกิจเสมอไป เทรนด์เหล่านี้รับบทเป็น Guideline สำหรับการวางกลยุทธ์ให้เหมาะกับธุรกิจและกลุ่มลูกค้าของเรา จะร่วงหรือจะปังก็ขึ้นอยู่กับการปรับใช้นะคะ 😊
ที่มา
https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public
https://trendwatching.com/
https://www.prachachat.net/tourism/news-251928
https://artsandculture.google.com/
https://www.nytimes.com/2018/05/16/arts/assassins-creed-origins-education.html
https://pantip.com/topic/38091114
https://www.edie.net/news/6/Stella-McCartney-opens-London-store-with–purest-air-in-the-capital-/
https://www.prnewswire.com/news-releases/moxy-hotels-launches-first-of-its-kind-asmr-bedtime-story-videos-exclusively-for-guests-of-the-new-moxy-nyc-chelsea-300830854.html
https://thespoon.tech/equal-parts-bundles-coaching-with-cookware-in-effort-to-lure-millennials-into-the-kitchen/

Contributor
Sara Komolsil
A Business Development Manager in Telco & Startup Ecosystem building related sector. She adores digital art, digital lifestyle and immersive experiential marketing. Always look out for hype culture. Adopting intermittent fasting to keep healthy lifestyle.
Wow, amazing details, business start up, trends etc.